Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3-1
บทที่ 3
พลวัตนโยบายน้ําไทย
จากการทบทวนนโยบายน้ําในอดีตถึงปจจุบันพบวานโยบายน้ําไทยมีขอบเขตที่กวางขวาง นอกจาก
เปนการกําหนดขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติแลว ยังกําหนดขึ้นเพื่อแกไขปญหา
ที่เกิดขึ้นในแตละชวงเวลาดวย เพื่อใหเห็นพลวัตของนโยบายน้ําไทย ในบทนี้จะวิเคราะหถึงการเปลี่ยนแปลง
ที่มาของนโยบายน้ําที่แบงออกเปน 4 ระยะ คือ
(1) นโยบายน้ําไทยกอนมีการสถาปนากระทรวงเกษตรพนิชการ (พ.ศ.1762-2435)
(2) นโยบายน้ําไทยภายหลังการสถาปนากระทรวงเกษตรพนิชการ (พ.ศ. 2435-2475)
(3) นโยบายน้ําไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475-2504)
(4) นโยบายน้ําไทย ภายหลังมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (พ.ศ.2504-2559)
3.1 นโยบายน้ําไทยกอนมีการสถาปนากระทรวงเกษตรพนิชการ (พ.ศ. 1762-2435)
นโยบายน้ําในสมัยกรุงสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1762 ไดกําหนดขึ้นเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค
ในชวงเวลาเดียวกันในอาณาจักรลานนา ไดมีการประกาศใชกฎหมายคือมังรายศาสตร ใน พ.ศ. 1839 ซึ่งเนน
การจัดระบบชลประทานแบบเหมืองฝายเพื่อการเกษตร ตอมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเปนเกาะมีน้ําทาอุดม
สมบูรณนโยบายน้ําในสมัยนี้เปนการขุดคลองเพื่อการคมนาคม อยางไรก็ตามในสมัยพระเจานารายณมหาราช
มีการกอสรางอางเก็บน้ําที่ทะเลชุบศรและอางเก็บน้ําซับเหล็ก ที่จังหวัดลพบุรี และวางทอน้ําเขามายัง
พระราชวังในอําเภอเมืองลพบุรี ซึ่งเปนการจัดหาน้ําเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ตอมาในสมัยกรุงธนบุรี
(พ.ศ. 2310-2323) มีนโยบายน้ําเพื่อคมนาคมโดยการขุดคลองหลายสาย เชนเดียวกับสมัยกรุงรัตนโกสินทร
ตอนตนตั้งแตรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367-2394) มีการขุดคลองทั้งเพื่อการคมนาคมและเปดพื้นที่ทางเกษตรมากขึ้น
มีการสรางทํานบปดกั้นลําน้ําธรรมชาติเพื่อเก็บกักน้ําไวทํานาแขวงเมืองกรุงเกา แขวงเมืองลพบุรี และแขวง
เมืองอางทอง รวมทั้งการตั้งเสาหินวัดระดับน้ําในแมน้ําเจาพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2374
ทําใหประเทศไทยมีขอมูลสถิติน้ํามาจนถึงปจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ประเทศไทยไดเซ็น
สัญญาเบาริ่ง (Bowring treaty) กับประเทศอังกฤษ ในป พ.ศ. 2398 มีการอนุญาตใหสงขาวขายตางประเทศได
จึงมีการขุดคลองหลายสายเพื่อพัฒนาพื้นที่ทําการเกษตร นโยบายน้ําในสมัยนี้จึงมีทั้งเพื่อการเกษตรและการ
คมนาคม ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-2435) มีการขุดคลองหลายสายเพื่อเปดพื้นที่การเกษตร เชน คลอง
รังสิต โดยใหภาคเอกชนเขามาดําเนินการ มีการประกาศใชพระราชบัญญัติธรรมเนียมคลอง พ.ศ. 2413 และ
ประกาศพระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) และประกาศขุดคลอง พ.ศ. 2420
3.2 นโยบายน้ําภายหลังมีการสถาปนากระทรวงเกษตรพนิชการ (พ.ศ. 2435-2475
ในชวงนี้ยังอยูในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังมีการสถาปนากระทรวงเกษตรพนิชการในป พ.ศ. 2435 แลวตอมา
ไดมีการสถาปนากระทรวงเกษตราธิการขึ้นในป พ.ศ. 2442 ในสมัยนี้เปนการเริ่มตนระบบชลประทานในประเทศไทย
โดยการจัดตั้งกรมคลองในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ พ.ศ. 2445 และเริ่มตนการประปาโดยตั้งโรงสูบน้ําที่สําแล
จังหวัดปทุมธานี แลวขุดคลองสงน้ํามายังโรงกรองน้ําสามเสน นโยบายน้ําในรัชกาลนี้จึงเปนทั้งเพื่อการเกษตร
คมนาคม อุปโภคและบริโภค ตอมาในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) ไดมีการเปดการประปากรุงเทพฯ เมื่อ
พ.ศ. 2457 และเปลี่ยนชื่อ กรมคลอง เปนกรมทดน้ํา นโยบายในรัชกาลนี้จึงเปนเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค