Page 89 -
P. 89

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                       ดําเนินงานที่เป็นผลลัพธ์จากการจัดตารางการผลิตดังกล่าว การวัดผลการดําเนินการส่วนใหญ่จะ

                       มุ่งเน้นไปทางด้านกําไรสูงสุดหรือต้นทุนตํ่าสุด แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การวัดผลการดําเนินงานทาง
                       การเงินที่เกี่ยวข้องกับตารางการผลิตให้อยู่ในรูปของต้นทุนและกําไร ทําได้ยาก นอกจากนั้น

                       กระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่จะทําให้ได้ตัวแบบการจัดตารางการผลิตที่ดีส่งผลต่อต้นทุนและ

                       กําไรที่เหมาะสมที่สุดก็ยังไม่สามารถหาได้ ดังนั้นในการจัดตารางการผลิตจึงสร้างตัวแทน
                       วัตถุประสงค์ ที่จะใช้ในการประมาณการที่สัมพันธ์กับต้นทุนหรือกําไร หน่วยวัดที่ใช้เป็นตัวแทน

                       โดยปกติจะเกี่ยวข้องกับเวลาแล้วเสร็จของงานที่เป็นผลลัพธ์จากตารางการผลิตที่กําหนดขึ้น

                            สําหรับเกณฑ์ในการวัดผลการดําเนินงานของการจัดตารางการผลิตจะครอบคลุมรายการ

                       ดังต่อไปนี้
                          •  เวลางานไหลในระบบรวม(Total Flow Time)

                          •  เวลางานไหลในระบบโดยเฉลี่ย(Average Job Flow Time)

                          •  ผลรวมของนํ้าหนักเวลาการไหลในระบบ(Total Weighted flow time)

                          •  จํานวนงานอยู่ในระบบโดยเฉลี่ย(Average number of job in system) หรือ พัสดุคงคลังงาน
                              ระหว่างผลิตโดยเฉลี่ย(Average WIP Inventory)

                          •   ช่วงเวลาการทํางานทั้งหมด(Makespan)

                          •  ประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักร(Machine Utilization)
                          •   เปอร์เซ็นต์การว่างงานของเครื่องจักร(Machine Idle Time)

                          •  เวลางานสาย หรือ เวลาส่งไม่ทันกําหนด(Tardiness) ของแต่ละงาน

                          •  จํานวนงานที่สาย(Number of Tardy Jobs)
                          •  เวลางานสายรวม(Total Tardiness)

                          •   เวลางานสายโดยเฉลี่ย(Mean Tardiness)

                          •   เวลางานสายสูงสุด(Maximum Tardiness)
                          •  ผลรวมของนํ้าหนักเวลาสาย(Total Weighted Tardiness)

                          •  เวลางานรอคอย(Job waiting time)

                          •   เวลางานรอคอยโดยเฉลี่ย(Job waiting Time)

                                 เพื่อให้ง่ายในการอธิบายให้เข้าใจถึงการคํานวณเพื่อการวัดผลการดําเนินงานของ
                          ตารางการผลิตที่กําหนดขึ้น จะได้สมมติตัวแปรต่างๆสําหรับข้อมูลป้อนเข้า ดังนี้

                               n= จํานวนงานที่ระบบทําการจัดตารางการผลิต

                              m  = จํานวนหน่วยผลิต
                              p  = เวลาผลิตของงาน i บนหน่วยผลิต k
                                ik
                              r  = เวลาในการออกใบสั่งของงาน i
                               i
                              d  = วันกําหนดส่งของงาน i
                               i
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94