Page 92 -
P. 92
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4.6 เทคนิคการจัดตารางการผลิตแบบตามสั่ง (Production Scheduling
Technique)
การจัดตารางการผลิต มีตั้งแต่รูปแบบง่ายๆ เช่นการจัดตารางการผลิตบนเครื่องจักรเครื่อง
เดียว ไปจนถึงรูปแบบที่ซับซ้อน เช่น การจัดตารางการผลิตบนเครื่องจักรหลายเครื่องแบบตามสั่ง
ยืดหยุ่น(Flexible Job shop) การทําความเข้าใจกับ วิธีการและคําตอบที่ได้จากการจัดตารางการผลิต
เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับผู้บริหารที่ต้องควบคุมและดูแลกิจกรรมการผลิตในโรงงานเป็นรายวัน
บางครั้งจําเป็นต้องมีการจัดรูปแบบของหน่วยผลิตในโรงงานให้เข้ากับรูปแบบของกระบวนการจัด
ตารางการผลิตที่มีอยู่ เช่น ในโรงงานหล่อโลหะ ซึ่งผลิตชิ้นส่วนต่างๆมากมายที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ยานยนต์ โรงงานเหล่านี้ผลิตชิ้นส่วนนับเป็นจํานวนมากกว่าหนึ่งพันรายการให้กับลูกค้านับจํานวน
หลายร้อยราย โดยลูกค้าจะออกใบสั่งงานซึ่งระบุรายการชิ้นส่วนและจํานวนที่ต้องการในแต่ละ
รายการ พร้อมทั้งวันกําหนดส่งมอบสําหรับงานดังกล่าว ชิ้นส่วนแต่ละรายการจะมีใบแสดง
ขั้นตอนการผลิตซึ่งบรรจุสารสนเทศการผลิตทั้งหมดที่จําเป็นต่อการผลิตชิ้นส่วนดังกล่าว เช่น
ส่วนผสมโลหะ แบบ ขั้นตอน และแรงงานที่ต้องการ ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนตามใบสั่ง
นอกจากกระบวนการหล่อโลหะแล้ว ยังมีกระบวนการอื่นๆอีกหลายกระบวนการ เช่น การเจียร
การเจาะ และ การ อบชุบโลหะด้วยความร้อน การทดสอบและตรวจสอบ ในการจัดตารางการ
ผลิตเราอาจพิจารณารวมเครื่องจักรและกระบวนการต่างๆเหล่านี้เข้าเป็นหน่วยผลิตหน่วยเดียว แล้ว
ทําการจัดตารางการผลิตเสมือนกับอยู่บนหน่วยผลิตหน่วยเดียว ซึ่งทําให้กระบวนการในการจัด
ตารางการผลิตทําได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นในกรณีของเครื่องจักรหลายเครื่องแบบอนุกรมซึ่งมี
เครื่องจักรที่เป็นคอขวดเป็นข้อจํากัดในการกําหนดขีดความสามารถของระบบทั้งหมด เราก็
สามารถจัดรูปแบบของการจัดตารางการผลิตให้อยู่ในรูปแบบของหน่วยผลิตหน่วยเดียวได้ โดย
การสร้างตารางการผลิตที่ดีให้กับเครื่องจักรคอขวด เนื่องจากตารางการผลิตบนเครื่องจักรคอขวด
จะถูกใช้ในการพิจารณากําหนดตารางการผลิตสําหรับเครื่องจักรที่อยู่ก่อนหน้าและตามหลัง
เครื่องจักรคอขวด กลยุทธ์ดังกล่าวนี้จะได้นํามาอธิบายในบทต่อๆไป อย่างไรก็ตาม ความสามารถ
ในการรวมหรือพิจารณาเลือกรูปแบบการจัดตารางการผลิตให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
ที่เกิดขึ้นจริงในโรงงานจึงเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับระบบ
การควบคุมกิจกรรมการผลิตในโรงงานและเทคนิคในการจัดตารางการผลิตที่จะนําไปประยุกต์ใช้
ในโรงงานให้เหมาะสม ง่าย และเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร