Page 96 -
P. 96
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เมื่อพิจารณาผลการดําเนินของตารางการผลิตด้วยเกณฑ์แต่ละเกณฑ์ ในตารางที่ 4.7 พอ
สรุปประเด็นสําคัญสําหรับกรณีการจัดตารางการผลิตบนหน่วยผลิตหน่วยเดียวได้ดังแสดงใน
ตารางที่ 4.8 ตัววัดแต่ละตัวในตารางจะแสดงกระบวนวิธีที่เหมาะสมสําหรับผลการดําเนินการ
ดังกล่าว โดยจะให้ข้อสังเกตุไว้ว่า ผลลัพธ์ที่ได้อาจเป็นเพียงระดับกระบวนการวิธีทางฮิวรีสติกส์
(Heuristics algorithm) คือมีแนวโน้มว่าจะได้ผลลัพธ์ตามนั้น หรือ เป็นกระบวนการที่ให้ผลตามนั้น
แน่นอน(exact algorithm) อย่างไรก็ตามรายละเอียดของบางกระบวนวิธีไม่ได้มีการอธิบายไว้ใน
หนังสือเล่มนี้ ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ Production Planning, Control, and
Integration แต่งโดย Daniel Sipper , Robert L. Bulfin,JR สํานักพิมพ์ McGraw-Hill บทที่ 8 หน้า
382-416 ) หรือ จากหนังสือ ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต บทที่ 10 แต่งโดย รศ. พิภพ ลลิ
ตาภรณ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)
ตารางที่ 4.8 สรุปกระบวนวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละตัววัดผลการดําเนินงานในการจัดตารางการ
ผลิตบนหน่วยผลิตหน่วยเดียว
ตัววัดผลการดําเนินงาน กระบวนวิธีที่เหมาะสม*
เวลาไหลในระบบ (Flow time) SPT(E)
ความล่าช้าจากวันกําหนดส่ง(Lateness) SPT(E)
นํ้าหนักการไหลในระบบ(Weighted Flow time) WSPT(E)
เวลาสายสูงสุด( Maximum Tardiness) EDD(E)
จํานวนงานสาย(Number of Tardy Jobs) Hodgson(E)
นํ้าหนักจํานวนงานสาย(Weighted Number of Tardy Jobs) Modified Hodgson(H)
เวลาสาย(Tardiness)(d = D) SPT(E)
j
เวลาสาย(Tardiness)(p = P) EDD(E)
j
เวลาสาย(Tardiness) MSL
เวลาสาย(Tardiness) R&M(H)
นํ้าหนักเวลาสาย(Weighted Tardiness) R&M(H)
* E = เป็นกระบวนการที่ได้คําตอบแน่นอน H = เป็นกระบวนการทาง ฮิวรีสติกส์
การจัดลําดับและตารางการผลิตให้กับงานที่เลยกําหนดส่ง
(Overdue Order and Priority Indices)
ใบสั่งงานที่เลยกําหนดส่งเป็นอีกลักษณะปัญหาหนึ่งในการจัดตารางการผลิตที่น่าสนใจ