Page 93 -
P. 93
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในหัวข้อต่อจากนี้ไปจะได้อธิบายถึงเทคนนิคในการการจัดตารางการผลิตรูปแบบต่างๆ และ
การประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากตารางการผลิตที่จัดขึ้น โดยจะใช้กระบวนการทางฮิวรีสติกส์ในการ
พิจารณาลําดับงานและจัดตารางการผลิต
การจัดตารางการผลิตบนหน่วยผลิตหน่วยเดียว
เป็นรูปแบบการจัดตารางการผลิตที่ง่ายที่สุด ลักษณะของรูปแบบจะเกิดขึ้นเมื่อมีงานหรือ
ใบสั่งงานหลายๆงานกําลังรอคอยการผลิตอยู่ ในขณะที่หน่วยผลิตที่จะใช้ในการบริการผลิตมีอยู่
เพียงหน่วยเดียว โดยใบสั่งงานแต่ละใบจะต้องมีสารสนเทศการผลิตสําหรับงานแต่ละงานที่ต้องทํา
การผลิตอยู่พร้อม เช่น จํานวนที่ต้องการ เวลามาตรฐานการผลิตที่ต้องใช้ ขั้นตอนการผลิต และ
เครื่องจักรที่ต้องการ รวมทั้งเครื่องมือ-อุปกรณ์และแรงงานที่ต้องการ เป็นต้น เราจะเริ่มต้นด้วยการ
แสดงตัวอย่างที่อธิบายถึงกระบวนการในการจัดตารางการผลิตบนหน่วยผลิตหน่วยเดียว หลายๆวิธี
พร้อมทั้งวัดผลการดําเนินงานของแต่ละวิธี
ตัวอย่างที่ 4.1 การจัดตารางการผลิตบนหน่วยผลิตหน่วยเดียว
ข้อมูลในตารางที่4.4 แสดงใบสั่งงานที่จะต้องทําการผลิตในแผนกเครื่องกัด (Milling
Machine) ของโรงงานแห่งหนึ่ง งานที่รออยู่หน้าเครื่องกัดขณะนี้ยังมีขั้นตอนการผลิตที่ต้องผ่านอีก
หลายขั้นตอนหลังจากนี้ ผู้จัดการโรงงานกําลังพิจารณาดูว่าวิธีการจัดลําดับงานแต่ละวิธีจะให้ผล
การดําเนินงานในการจัดตารางการผลิตแตกต่างกันอย่างไรเพื่อประกอบการตัดสินใจในการส่งงาน
เข้าสู่ช่วงการผลิตของเครื่องกัด ซึ่งมีอยู่เครื่องเดียว รายการใบสั่งงานในตารางถูกจัดเรียงตามลําดับ
การเข้าสู่ระบบ
ตารางที่ 4.4 ข้อมูล ใบสั่งงาน นํ้าหนักความสําคัญ เวลาผลิต และ กําหนดส่งมอบ
ของแต่ละงาน
ใบ นําหนัก เวลา เวลาผลิต จํานวน กําหนด เวลา SL/RO
สั่งงาน ความสําคัญ ออกใบสั่ง (ชั่วโมง) ขั้นตอนที่ ส่งมอบ เหลือ
i w i r i p ik ยังเหลืออยู่ d i
1 1 0 1 2 10 9 4.5
2 2 0 10 1 20 10 10
3 1 0 5 2 15 10 5
4 3 0 2 1 10 8 8
5 1 0 8 2 10 2 1
6 1 0 7 3 25 18 6