Page 75 -
P. 75
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สําหรับการจัดตารางการผลิตโดยทั่วๆไป สามารถแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆได้ 2 กลุ่ม ตาม
สภาพแวดล้อมของกระบวนการผลิต คือ การจัดตารางการผลิตแบบตามสั่ง(Job Shop Scheduling)
และการจัดตารางการผลิตแบบรุ่นการผลิต(Batch Scheduling) ในแต่ละกลุ่มก็ยังมีคุณลักษณะและ
รายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้น รวมทั้ง
เทคนิคและวิธีคิดในการจัดตารางการผลิตก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปด้วย ส่งผลให้การ
จัดตารางการผลิตในโรงงานงานอุตสาหกรรมมีความหลากหลายและมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง
ออกไปมากมาย แต่ก็น่าสนใจมากขึ้น และ ในบางครั้งก็ส่งผลประโยชน์ต่อบริษัทค่อนข้างมาก
เช่นกัน ในหนังสือเล่มนี้ ได้กําหนดการจัดตารางการผลิตไว้เป็น 4 ประเภท คือ การจัดตารางการ
ผลิตแบบตามสั่ง(Job shop Scheduling) การจัดตารางการผลิตไหลแบบรุ่นการผลิต (Scheduling
For Batch Flow Lines) การจัดตารางการผลิตแบบเซลล์การผลิต (Scheduling for Cell
Manufacturing) และการจัดตารางการผลิตที่เน้นคอขวด (Bottleneck Scheduling) ซึ่ง 2 ประเภท
หลังมักจะอยู่ในกลุ่มของการผลิตแบบตามสั่ง สําหรับการจัดตารางการผลิตแบบตามสั่งจะแบ่งย่อย
ลงไปตามประเภทของการจัดหน่วยผลิต ส่วนการจัดตารางที่เน้นคอขวด เป็นวิธีคิดในการจัดตาราง
การผลิตแบบตามสั่งที่เน้นความสําคัญกับหน่วยผลิตที่เป็นคอขวดของระบบหรือของของกลุ่มการ
ผลิต โดยนําเอาหลักของทฤษฎีข้อจํากัดหรือเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม (Theory of Constraints
or Optimize Production Technology) มาประยุกต์ใช้ในการจัดตารางการผลิต ส่วนการจัดตารางการ
ผลิตแบบเซลล์ ถูกกําหนดขึ้นเพื่อให้การผลิตเกิดความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้าที่หลากหลายในเวลาที่รวดเร็ว โดยปรับรูปแบบการจัดวางเครื่องจักรในโรงงานแบบตามสั่ง
ดั่งเดิมซึ่งเน้นจัดตามกระบวนการผลิต ที่เน้นการตอบสนองการผลิตที่มีความหลากหลายมาก แต่
ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเนื่องจากต้องเสียเวลาในการเตรียมการผลิตนาน มาเป็นกลุ่มการผลิตหรือ
เซลล์การผลิต ซึ่งรวมกลุ่มเครื่องจักรที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่ง
ภายในเซลล์การผลิตดังกล่าวนี้ การผลิตชิ้นส่วนแต่ละรายการจะไหลไปในทิศทางเดียวกันคล้ายกับ
การผลิตแบบไหล แต่จะมีความคล่องตัวกว่าและเสียเวลาเตรียมการผลิตน้อยกว่ามาก การผลิต
สามารถสลับไปมาระหว่างผลิตภัณฑ์แต่ละรายการภายในกลุ่ม ด้วยรุ่นการผลิตชิ้นส่วนแต่ละ
รายการจํานวนน้อยๆ ด้วยเหตุนี้การจัดตารางการผลิตภายใต้สภาพแวดล้อมของการผลิตแบบเซลล์
จึงมักจะมีชื่อเรียกว่า การจัดตารางการผลิตแบบผสมรุ่น (Mixed Model Scheduling)
สําหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการจัดตารางการผลิตแบบตามสั่ง ส่วนการจัดตารางการผลิต
แบบอื่นๆจะได้กล่าวถึงในบทต่อๆไป
4.2 การผลิตแบบตามสั่งคืออะไร (What is Job Shop?)
การผลิตแบบตามสั่งโดยทั่วไป เป็นการผลิตที่ความหลากหลายของรายการผลิตภัณฑ์สูง แต่แต่ละ