Page 76 -
P. 76
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รายการผลิตภัณฑ์ มีปริมาณการผลิตจํานวนน้อย ซึ่งจะทําการผลิตตามใบสั่งงานหลายๆงานไป
พร้อมๆกันในโรงงาน และแบ่งปันการใช้ทรัพยากร งานแต่ละงานจะมีขั้นตอนการผลิต วันกําหนด
ส่ง ลําดับความสําคัญ ปริมาณ และ ความต้องการใช้วัสดุและทรัพยากรที่แตกต่างกัน การเพิ่มความ
หลากหลายของผลิตภัณฑ์ตามคําสั่งของลูกค้า นําไปสู่สภาพแวดล้อมของโรงงานผลิตตามใบสั่ง
งาน(job shop) ระบบการผลิต แบบ การผลิตแบบตามสั่ง(Make-to-order , MTO) ออกแบบตามสั่ง
(Engineer- to -order , ETO) เนื่องจากการผลิตที่มีงานหลากหลายงานดําเนินไปพร้อมๆกันโดยใช้
การแบ่งปันการใช้ทรัพยากร การจัดตารางการผลิตแบบตามสั่งจึงส่งผลกระทบต่อผลการ
ดําเนินงานด้านการส่งมอบ งานระหว่างผลิต ช่วงเวลานํา และ ผลิตภาพของโรงงานอย่างมี
นั ย ส ํ า ค ั ญ
ถึงแม้ว่าการผลิตแบบตามสั่งจะค่อนข้างมีขนาดเล็กและรายรับที่น้อยกว่า แต่ในการบริหาร
การผลิตของโรงงานผลิตตามสั่งจะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าระบบการผลิตแบบซํ้าๆขนาด
ใหญ่ มันไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายที่จะหยั่งรู้หรือเข้าใจความซํบซ้อนของการจัดตารางการผลิตแบบตาม
สั่งทั้งหมด ตราบเท่าที่เราจัดการการผลิตโดยการจัดตารางการผลิตแบบเวลาจริง(real-time
scheduling) และการต่อสู้กับงานเร่งด่วนโดยปราศจากการประเมินถึงผลกระทบจากปัญหาความ
ผันผวนที่เกิดขึ้นเป็นระลอกคลื่น โรงงานผลิตตามสั่งไม่สามารถจะปรับปรุงผลการดําเนินงานของ
ตนได้อย่างง่ายได้จนกว่าความจําเป็นที่ต้องต่อสู้กับงานเร่งด่วนจะเหลือน้อยที่สุดโดยปราศจาก
ความสูญเสียด้านผลผลิต ผู้จัดการโรงงานสั่งผลิตหลายๆท่านยอมรับว่าอํานาจของระบบ
สารสนเทศและวิธีการผลิตแบบลีนไม่เพียงพอสําหรับการบริหารโรงงานให้มีประสิทธิภาพ
สําหรับปัญหาการบริหารการผลิตในโรงงานผลิตแบบตามสั่งจะเลวร้ายยิ่งขึ้นจากหลายๆปัจจัย
ดังต่อไปนี้
การเปลี่ยนแปลงใบสั่งของลูกค้า
การเปลี่ยนแปลงกําหนดส่งและลําดับความสําคัญของงาน
ความล่าช้าในการส่งมอบวัสดุ
การแก้ไขงานใหม่หรือการปฏิเสธงานเนื่องจากไม่ได้คุณภาพ
การเสียของเครื่องจักร
การยอมรั บงานเร่ งด่ วนเนื่ องจ าก กํ าไรก้ อนโต
ปัจจัยต่างๆเหล่านี้เป็นสาเหตุของผลกระทบของละลอกความแปรปรวนในการวาง
แผนการผลิต อย่างไรก็ตามผู้จัดการในโรงงานผลิตตามสั่งส่วนใหญ่ ได้วางแผนการผลิตบน
พื้นฐานของกําหนดส่งมอบ และการกําหนดช่วงเวลานําไว้ก่อนล่วงหน้า และใช้มาตรการจัดตาราง
การผลิตแบบเวลาจริง(real-time scheduling) และ ต่อสู้กับการเร่งงานโดยการติดตามความก้าวหน้า
ของงาน สําหรับการกําหนดช่วงเวลานําไว้ก่อนล่วงหน้านั้นเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยมีประสิทธิผล