Page 74 -
P. 74
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แนวทางหนึ่งก็คือศึกษาจากองค์ประกอบของการคํานวณที่ซับซ้อนและการโปรแกรมเลขจํานวน
เต็ม(Integer Programming) ทั้งสองหัวข้ออยู่นอกเหนือขอบเขตของเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้(มี
หนังสืออ้างอิงที่ดีมากเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้อยู่หลายเล่ม และหลายเล่มได้บรรจุอยู่ในรายการ
เอกสารอ้างอิงท้ายหนังสือเล่มนี้แล้ว) ในที่นี้จะมุ่งเน้นไปที่วิธีทางฮิวรีสติกส์(Heuristics)ซึ่งเป็น
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีาง่ายๆแต่ให้คําตอบที่ยอมรับได้ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ส่วนวิธีการสร้างโปรแกรมทางคณิตศาสตร์(Mathematical Programming)มักจะถูกนําไปใช้ในการ
สร้างตัวแบบของปัญหาและถูกใช้เป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาทางฮิวรีสติกส์ ปัญหาการจัดตาราง
การผลิตค่อนข้างจะมีความหลากหลายเนื่องจากเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมการผลิตที่แตกต่างกัน
มากมาย โดยการจัดตารางการผลิตสามารถจะแบ่งประเภทได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้[3]
1. รูปแบบการไหล (Flow patterns)
(ก) การผลิตแบบไหล (Flow shop) งานทุกงานจะมีการไหลของกระบวนการ (process
flows )ที่เหมือนกันทุกประการ และต้องการลําดับขั้นของการปฏิบัติการที่
เหมือนๆกัน
(ข) การผลิตแบบตามสั่ง (Job shop): งานต่างๆจะมีการไหลของกระบวนการ (process
flows) ที่แตกต่างกัน และอาจจะต้องการลําดับขั้นในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสําคัญ
2. รูปแบบการผลิต (Processing mode)
(ก) การผลิตเป็นหน่วย (Unit processing) งานจะถูกผลิตไปที่ละหน่วย
(ข) การผลิตแบบเป็นรุ่น (Batch processing) งานจํานวนมากจะถูกทําการผลิตไปด้วยกัน
เป็นรุ่นการผลิต
3. รุปแบบการออกใบสั่งงาน (Job release pattern) เวลาออกใบสั่งงานคือเวลาเร็วที่สุดที่การผลิต
สามารถจะเริ่มขึ้นได้
(ก) แบบคงที่ (Static) งานจะถูกออกใบสั่งหรือสมมติว่าถูกออกใบสั่งเข้าสู่โรงงานในเวลา
ศูนย์
(ข) แบบแปรเปลี่ยนได้ (Dynamic) งานจะถูกออกใบสั่งหรือสมมติว่าถูกออกใบสั่งเข้าสู่
โรงงานได้ตลอดเวลา
4. รูปแบบของหน่วยผลิต (Work center configuration)
(ก) เครื่องจักรเครื่องเดียว (Single machine)
(ข) เครื่องจักรหลายเครื่องแบบซํ้าๆ (Identical parallel machines)
(ค) เครื่องจักรหลายเครื่องแบบอนุกรม
(ง) เครื่องจักรหลายเครื่องแบบไม่ซํ้า