Page 127 -
P. 127

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       123






                     11.7 การใชประโยชนการเพิ่มขึ้นของชิ้นสวนโครโมโซมในการปรับปรุงพันธุพืช


                               นักปรับปรุงพันธุพืชไดใชการเปลี่ยนแปลงโครงสรางโครโมโซมแบบที่มีการเพิ่มขึ้นของ

                     ชิ้นสวนโครโมโซมในการเพิ่มชิ้นสวนเล็ก ๆ ของโครโมโซมที่มียีนควบคุมลักษณะที่ตองการ การชัก
                     นําใหโครโมโซมมีชิ้นสวนที่ตองการเพิ่มขึ้นสามารถกระทําไดหลายวิธี ดังนี้ 1) การชักนําให

                     โครโมโซมเกิดการแตกหักและเชื่อมตอโดยการใชรังสี 2) การชักนําใหเกิดความไมสมดุลในการ

                     แลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวางโครโมโซมคูเหมือน (unequal crossing over) ในระหวางการแบงเซลล
                     แบบไมโตซิสของเซลลรางกายของตนพืชที่เปนดิพลอยด และ 3) การชักนําใหเกิดการแลกเปลี่ยน

                     ชิ้นสวนระหวางโครโมโซมปกติกับโครโมโซมที่มีชิ้นสวนตอกลับทิศทาง (inverted chromosome)

                     หรือกับโครโมโซมที่มีชิ้นสวนที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนระหวางโครโมโซมที่มิไดเปนคูกัน

                     (translocated chromosome) อยางไรก็ตามการชักนําใหชิ้นสวนโครโมโซมที่ตองการเพิ่มขึ้นโดยใช
                     การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวางโครโมโซมที่มิไดเปนคูกัน translocation เปนวิธีที่สิ้นเปลืองแรงงาน

                     และเวลามาก และใชไดผลกับพืชบางชนิดที่มีชุดของตนพืชที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวาง

                     โครโมโซมที่มิไดเปนคูกันครบทุกโครโมโซม เชน ขาวโพด บารเลย ไรย ขาวฟางไขมุก (pearl millet)
                     ตัวอยางนักปรับปรุงพันธุพืชที่ไดนําการเพิ่มขึ้นของชิ้นสวนโครโมโซม  ไปใชประโยชนในการ

                     ปรับปรุงพันธุพืช เชน Hagberg (1962) ไดปรับปรุงคุณภาพมอลท (malting quality) ของขาวบารเลย

                     โดยการทําใหชิ้นสวนโครโมโซมที่มียีนซึ่งควบคุมการสังเคราะหเอนไซม  α- amylase เพิ่มขึ้นเมื่อ
                     เพิ่มปริมาณแปงชนิดอะมิโลส (amylose)  และตอมาในป 1991 Hagberg and Hagberg (1991)  ได

                     ปรับปรุงลักษณะ   ตาง ๆ ของพืช ซึ่งรวมถึงผลผลิตดวยโดยการทําใหชิ้นสวนโครโมโซมที่มีลักษณะ

                     ที่ตองการเพิ่มขึ้น อยางไรก็ตามการปรับปรุงพันธุโดยอาศัยการเพิ่มขึ้นของชิ้นสวนโครโมโซมที่
                     ตองการยังไมประสบความสําเร็จมากนัก เนื่องจากชิ้นสวนโครโมโซมที่เพิ่มขึ้นอาจมีชิ้นสวนของยีน

                     ที่ไมตองการติดมาดวยนอกเหนือไปจากยีนที่ตองการ ดังนั้นจึงตองทําการคัดเลือกเพื่อคอย ๆ

                     ปรับปรุงลักษณะที่ตองการตอไปอีก


                     บรรณานุกรม


                     วิสุทธิ์ ใบไม. 2527. พันธุศาสตร. ศิลปกิจการพิมพ, กรุงเทพฯ.,



                     Hagberg, A. 1962. Production of duplications in barley breeding. Hereditas 48 : 243-246.


                     Hagberg, A. and P. Hagberg. 1991. Production and analysis of chromosome duplications in barley,

                          pp. 401-410. In P.K. Gupta and T. Tsuchiya (eds.). Chromosome Engineering in Plants:
                          Genetics, Breeding, Evolution. Part A. Elsevier Science Publishers B.V., Amsterdam.
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132