Page 127 -
P. 127
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
121
เมล็ดและต้นกล้า
บริเวณปลายยอดที่นูนสูงอยู่ยุบลง ท าให้บริเวณยอดสุดแบนราบลงและเกิดปุ่มเล็ก ด้านข้างเป็น
จุดเริ่มต้นของดอก เรียกว่า ปุ่มก าเนิดดอก (floral primordia) เกิดเป็นส่วนที่ยื่นป่องออกมาเป็นกลีบ
เลี้ยงและกลีบดอก โดยมีลักษณะการเกิดคล้ายของใบ จากนั้นจึงมีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย เกิดขึ้น
ตามล าดับ ซึ่งการเกิดของทั้งสองส่วนนี้ โดยเฉพาะของเกสรเพศเมียแตกต่างออกไปได้หลายแบบด้วยกัน
ขั้นตอนของการเกิดและพัฒนาการของดอกในพืชชนิดต่าง ๆ อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่
พื้นฐานของการเกิดและของดอกจะคล้ายคลึงกัน
การสืบพันธุ์ของพืช
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดอยู่รอดผ่านช่วงวิวัฒนาการที่ยาวนานมาได้ เนื่องจากมีกระบวนการสืบพันธุ์ที่มี
ประสิทธิภาพ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) เกิดขึ้นในโครงสร้างเฉพาะที่มีการ
สร้างเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell หรือ gamete) ขณะเดียวกันมีกลไกก่อให้เกิดการรวมตัวกันของเซลล์
สืบพันธุ์ดังกล่าว ตลอดวัฎจักรชีวิตของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลง (differentiation) และ
การพัฒนา (development) ของโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์เหล่านี้ ในขณะที่แบคทีเรียซึ่งเป็น
สิ่งมีชีวิตชั้นต่ ากว่า มีการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (asexual reproduction) โดยการแบ่งเซลล์ที่รู้จักกันใน
ชื่อว่า การแตกหน่อ หรือ budding และ การรวมตัวกัน หรือ fission และส่วนใหญ่ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง
(eukaryotic organism) มีกระบวนการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ ที่มีการรวมตัวของพันธุกรรม (genetic
recombination) และมีวิวัฒนาการที่ค่อนข้างรวดเร็ว
ตลอดวัฎจักรชีวิตของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง เริ่มจากการสร้างเซลล์เพศ ขณะเดียวกันมีการพัฒนาเพื่อ
น าไปสู่การรวมตัวกันของเซลล์เพศดังกล่าว ในที่นี้จะกล่าวถึงพืชมีดอก (angiosperm) อย่างกว้างๆ ถึง
กระบวนการพัฒนาที่น าไปสู่การเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (male gamete) และเซลล์
สืบพันธุ์เพศเมีย (female gamete) รวมถึงกลไกการรวมตัวกันของเซลล์เพศเหล่านี้
วัฏจักรชีวิตของพืชดอก (The Life Cycle of an Angiosperm)
วัฏจักรชีวิตของพืชดอกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ (ภาพที่ 6.16) คือ ระยะ sporophyte
เริ่มจากการปฏิสนธิจนเกิดเป็นไซโกต แล้วเกิดกระบวนการสร้างเอ็มบริโอ (embryogenesis)
ขณะเดียวกันมีการสร้างเนื้อเยื่ออื่นๆ เพิ่มเติมจนกระทั่งเกิดเป็นเมล็ด (seed) ทั้งเมล็ดและต้นที่พัฒนา
มาจากเอ็มบริโอจะเกิดในระยะที่เป็น sporophyte ในพืชชั้นสูงที่มีดอก พบว่าระยะ sporophyte มีการพัก
ตัวเช่นเดียวกับในเฟริน์ แต่จะมีการลดขนาดของการเป็น parasite ลงมาก และมีสัณฐานวิทยาของ
ส่วนประกอบของดอกที่แตกต่างกันอยู่ 2 ชนิด (เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ