Page 126 -
P. 126
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
120
โครสร้างพืช
พัฒนาการของดอก (Flower development)
พืชมีดอกจะมีพัฒนาการต่อเนื่องเป็นวัฎจักรชีวิต โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโต
ทางล าต้นไปเป็นระยะสืบพันธุ์ เมื่อการควบคุมทางพันธุกรรมและสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสม จะมีการ
เปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอด หรือปลายกิ่ง หรือตาข้าง จากการแบ่งเซลล์เพื่อการ
สร้างปุ่มก าเนิดใบไปเป็นการแบ่งเซลล์และเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เพื่อการสร้างเป็นโครงสร้างของ
ดอก ดังนั้นดอกจึงมีก าเนิดมาจากตาเช่นเดียวกับกิ่งและใบ ตาที่ให้ก าเนิดดอกนี้อาจเป็นตาดอกหรือตา
ผสม ตาซึ่งให้ก าเนิดกิ่งและใบจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ต่อมาเนื้อเยื่อเจริญจะเปลี่ยนจาก vegetative
meristem เป็น reproductive meristem โดยอาจใช้เวลาช่วง สั้น 2-3 วัน จนถึงใช้เวลานานหลายปี และ
มีความแตกต่างกันในแต่ละพืช ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ใน
ระยะแรกเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของเนื้อเยื่อเจริญ
เกิดจากสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสรีรวิทยา เช่น ช่วงแสง (photoperiod) อุณหภูมิ และฮอร์โมนพืช
เชื่อกันว่าสร้างขึ้นก่อนที่ใบ และส่งต่อมายัง apical meristem เพื่อกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์เพิ่มมากขึ้น
และเป็นจุดเริ่มของการก าเนิด ปุ่มก าเนิดดอก (floral primordium) ต่อไป การเปลี่ยนแปลงในส่วนของ
apical meristem สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างได้ซึ่งต่างไปจากการสร้างปุ่มก าเนิดใบ
(leaf primordia) เช่น ในถั่วเหลือง (ภาพที่ 6.15)
1 2 7 8
3 4 9 10
5 6 1 11 12
ภาพที่ 6.15 ระยะพัฒนาการต่างๆ ของดอกถั่วเหลือง
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ