Page 123 -
P. 123
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
117
เมล็ดและต้นกล้า
1.2 spike ดอกย่อยเกิดบนแกนกลางเช่นเดียวกับ raceme แต่ดอกย่อยไม่มีก้านดอก (sessile
flower) หรือดอกย่อยเกิดติดกันเป็นกระจุกติดกับแกนกลาง เช่น กระถินณรงค์ สับปะรด มะพร้าว ช่อ
ดอกเพศเมีย (ฝัก) ข้าวโพด และแกลดิโอลัส
1.3 catkin หรือ ament คล้ายกับ spike แต่ปลายช่อดอกห้อยหัวลงสามารถแกว่งไปมาได้
ส่วนใหญ่ดอกที่มีขนาดใหญ่ในช่อดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ในช่อดอกหนึ่งอาจมีดอกเพศผู้หรือดอก
เพศเมียเพียงอย่างเดียว เช่น หางกระรอกแดง
1.4 corymb ดอกย่อยเกิดบนแกนกลางเช่นเดียวกับ raceme แต่ก้านดอกย่อยยาวไม่เท่ากัน
โดยตรงโคนช่อดอกจะยาวกว่าก้านดอกย่อยบริเวณปลายช่อ ท าให้เห็นดอกย่อยอยู่ในระดับเดียวกันทั้ง
ช่อ เช่น คะน้า ดอกขี้เหล็ก และหางนกยูงไทย
1.5 spadix ดอกย่อยเกิดบนแกนกลางที่มีลักษณะอวบ ท าหน้าที่เป็นฐานรองดอก ดอกเพศผู้
และดอกเพศเมียที่เกาะบนฐานรองดอกนี้ไม่มีก้านดอก โดยทั่วๆ ไปจะมีดอกย่อยเพศผู้อยู่ด้านบนของช่อ
และดอกเพศเมียเกาะอยู่ด้านล่าง บริเวณโคนของช่อดอกมีใบประดับ (bract หรือ bracteole) ขนาด
ใหญ่รองรับช่อดอกอยู่ เรียกว่า spathe บางชนิดมีสีสวยงาม เช่น ดอกหน้าวัว อุตพิต และบอน
1.6 head หรือ capitum แกนกลางช่อดอกหดสั้น และแผ่กว้างคล้ายจานเหมือนกับฐานรอง
ดอกของดอกเดี่ยว ดอกติดอยู่กับแกนจ านวนมาก โดยดอกย่อยไม่มีก้านหรือมีก้านสั้นๆ มีใบประดับ
จ านวนมากตรงฐานคล้ายกลีบเลี้ยง แต่ละดอกมีใบประดับเล็กๆ รองรับอยู่ หรืออาจลดรูปเป็นขนติดอยู่
กับโคนดอกย่อย เช่น ทานตะวัน บานชื่น ดาวเรือง บานไม่รู้โรย เบญจมาศ รักเร่ และกระถิน
ภาพที่ 6.12 indeterminate inflorescence หรือ racemose ของช่อดอก ที่พบในพืชมีดอก
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ