Page 118 -
P. 118
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
112
โครสร้างพืช
4.1 ก้านชูเกสรเพศเมีย (style) และ ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) โดยทั่วไปแล้ว ก้านชูเกสร
เพศเมียจะเป็นก้านเดี่ยว บางชนิดอาจเป็นก้านประกอบที่มีหลายก้าน นอกจากนี้พวกที่มีก้านเดียวอาจ
เกิดมาจากหลาย carpel ซึ่งจะติดกันเพียงบางส่วน หรือรวมกันเป็นหลอด มีลักษณะของก้านที่กลวง
ภายใน หรืออัดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน บริเวณปลายสุดของก้านชูเกสรเพศเมียจะเป็นยอดเกสรเพศเมียซึ่ง
มักพองออกเป็นปุ่ม มีขนหรือน้ าเหนียวส าหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือพาหะพามา ซึ่งอาจมีปุ่มเดียว
หรือหลายปุ่ม ดอกพืชบางชนิดไม่มีก้านชูเกสรเพศเมีย เรียกว่า sessile stigma โดยยอดเกสรเพศเมียจะ
อยู่ติดกับรังไข่ เช่น ดอกมังคุด ยอดเกสรเพศเมียและก้าน มีโครงสร้างและลักษณะพิเศษเพื่อช่วยให้เรณู
สามารถงอกและเจริญผ่านเข้าไปในออวุลที่อยู่ภายในรังไข่
4.2 รังไข่ (ovary) ประกอบด้วยผนังรังไข่ (ovary wall) (ภาพที่ 6.7) ภายในเป็นช่องว่าง
เรียกว่า locule ซึ่งอาจมีเพียง 1 locule หรือมากกว่าก็ได้ ถ้ามีมากกว่า 1 ห้อง จะมีผนังกั้น เรียกว่า
septum ภายในรังไข่มี ออวุล (ovule) โดยออวุลจะเชื่อมติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ ที่เรียกว่า
funiculus และบริเวณของผนังรังไข่ที่ก้าน funiculus เชื่อมติดอยู่เรียกว่า placenta
ovary wall
septum
placenta
funiculus
ovule
locule
ภาพที่ 6.7 ส่วนประกอบของรังไข่ภายในเกสรเพศเมีย
การติดของออวุลบนผนังรังไข่บริเวณ placenta เรียกว่า placentation ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่าง
กันหลายแบบ (ภาพที่ 6.8) คือ
1) parietal placentation พบในรังไข่ที่เกิดจากมาจากหลาย carpel และเป็นรังไข่ชนิด
syncarpous โดยขอบของ carpel ที่เชื่อมติดกันจะไม่โค้งเข้าด้านใน หรือไม่เชื่อมติดกันตรงกลาง มี
locule เดียว placenta อยู่ที่ผนังของรังไข่ตรงรอยที่ carpel มาเชื่อมกัน จ านวน caepel เท่ากับจ านวน
ของ placenta เมื่อตัดตามขวาง เช่น แตง ฝักทอง
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ