Page 114 -
P. 114
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
108
โครสร้างพืช
ภาพที่ 6.1 ส่วนประกอบที่ส าคัญของดอกสมบูรณ์ (ที่มา: Stern, 1994)
2. กลีบดอก (petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปด้านในเป็นวงที่สอง เรียกว่า วงกลีบ
ดอก (corolla) ซึ่งในกรณีที่เชื่อมติดกันเรียกว่า corolla tube ท าหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยถ่ายละออง
เกสร วงกลีบเลี้ยงและวงกลีบดอกรวมกันมีชื่อเรียกว่า perianth พืชบางชนิดมี perianth ที่เหมือนกัน
และแยกไม่ออกว่าเป็นกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก แต่ละกลีบของ perianth จึงมีชื่อเรียกว่า tepal รูปร่าง
ของทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกในพืชจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป กลีบดอกมักมีสีต่างๆ เนื่องจากมี
การสะสมรงควัตถุ (pigment) ภายในเซลล์ เช่น สีเหลืองและสีแสด เกิดจากการสะสมของสารพวกคาโรที
นอยด์ (carotenoids) ในโครโมพลาส หรือสีแดง น้ าเงิน และม่วงจากการสะสมสารแอนโธไซยานิน
(anthocyanin) ใน cell sap ของแวคิวโอล ส่วนสีขาวเกิดจากการสะสมสารแอนโธแซนทิน
(anthoxanthin) ใน cell sap ของแวคิวโอล กลีบดอกของพืชบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีได้ เช่น ดอก
พุดตาน และดอกไฮเดนเยีย
โครงสร้างภายในของกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกลีบเลี้ยงและใบ โดยชั้นมีโซฟิลล์ประกอบด้วย
เนื้อเยื่อพาเรนไคมาที่เกาะกันหลวมๆ ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสหรือสารสีในถุงแวคิวโอล ความหนา
ของชั้นมีโซฟิลล์จะแตกต่างกันออกไป
3. เกสรเพศผู้ (stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไปข้างใน วงของเกสรเพศผู้เรียกว่า
androecium เกสรเพศผู้นี้เจริญและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem)
เพื่อท าหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ จึงเป็น essential organ ส่วนประกอบของเกสรเพศผู้คือ ก้านชู
อับเรณู (filament) และอับเกสรเพศผู้หรืออับเรณู (anther) ในพืชบางชนิดเกสรเพศผู้อาจท าหน้าที่อื่น
เช่น สร้างน้ าหวานล่อแมลง หรือเป็นอาหารให้กับแมลงที่ช่วยการถ่ายละอองเกสร เกสรเพศผู้
ประกอบด้วย (ภาพที่ 6.2)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ