Page 110 -
P. 110
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
104
โครสร้างพืช
2.2 spongy parenchyma เป็นชั้นที่อยู่ติดกับ epidermis ด้านล่าง (lower epidermis) มี
รูปร่างไม่แน่นอน เรียงตัวกันหลวมๆ มีช่องว่างระหว่างเซลล์จ านวนมาก และการเรียงตัวของเซลล์ไม่
เป็นระเบียบ
เซลล์มีโซฟิลล์เป็นส่วนที่มีบทบาทส าคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง โดยคาร์โบไฮเดรทจะถูก
สร้างใน เซลล์มีโซฟิลล์และเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆโดยท่อล าเลียงอาหาร (phloem)
ส าหรับใบของพืชน้ า โครงสร้างภายในจะแตกต่างออกไป โดยมีโซฟิลล์ของใบด้านที่ติดกับผิวน้ า
จะมีช่องว่างระหว่าเซลล์ใหญ่มากจนกลายเป็นช่องว่างอากาศ (air space) ขนาดใหญ่ ท าหน้าที่เก็บก๊าซ
ไว้ภายในและมีปากใบจะอยู่ที่ epidermis ด้านบนใบ และเนื่องจากแผ่นใบบางจึงมี sclereid แทรกอยู่ใน
ชั้นมีโซฟิลล์ เรียกว่า trichrosclereid เพื่อช่วยให้ใบแข็งแรงไม่ฉีกขาด (ภาพที่ 5.23) ในขณะที่ใบพืชที่ขึ้น
ในที่แล้งหรือมีความชื้นน้อย มักมีขนาดของใบที่เล็กลง หรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนาม มีโซฟิลล์จะหนา
และประกอบไปด้วยเซลล์พวก palisade parenchyma ส่วนพืชวงศ์หญ้าจะไม่แบ่งออกเป็น palisade
และ spongy parenchyma แต่เซลล์มีโซฟิลล์นี้จะมีรูปร่างค่อนข้างเป็นแบบเดียวกันหมดและมักมี
sclerenchyma อยู่ด้วย ซึ่งโดยมากจะเกิดล้อมรอบกลุ่มท่อล าเลียงไว้เรียกว่า bundle sheath ยกเว้น
bundle sheath ของพืช C ที่ bundle sheath เป็นเซลล์พาเรนไคมาที่มีคลอโรพลาสท าให้บริเวณ
4
ดังกล่าว สามารถมีการสังเคราะห์แสงได้ (ภาพที่ 5.24)
3. เส้นใบ หรือ กลุ่มท่อล าเลียง (vein หรือ vascular tissue) มีอยู่ทั่วไปในใบ ประกอบด้วย
ท่อน้ า (xylem) เป็นเซลล์มีผนังหนาและเรียงตัวแน่น อยู่ทางด้านบนติดกับ upper epidermis ส่วนท่อ
อาหาร (phloem) เป็นเซลล์ที่มีผนังบางกว่าและมีขนาดเล็กอยู่ด้านล่างติดกับ lower epidermis ท่อ
ล าเลียงของใบจะติดต่อกับท่อล าเลียงของเส้นกลางใบซึ่งติดต่อกับกิ่งและล าต้น
ในพืชวงศ์หญ้า นอกจากที่มีโซฟิลล์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็น palisade และ spongy
parenchyma แต่ยังคงสภาพเป็น mesophyll parenchyma อยู่ในชั้นที่ถัดมาจาก epidermis และ
bulliform cell ส่วนเส้นใบหรือท่อล าเลียงจะถูกล้อมรอบด้วย bundle sheath ที่หนา 1 หรือ 2 ชั้น
bundle sheath นี้จะไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชที่เป็นพืช C (พืช C หมายถึงพืช
4
3
ที่มีการสังเคราะห์แสงโดยวัฏจักร C หรือ Calvin-Benson pathway เช่น ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต และ
3
ข้าวสาลี ส่วนพืช C เช่น อ้อย ผักโขม และข้าวโพด มีการสังเคราะห์แสงโดยวัฏจักร C หรือ Hatch-
4
4
Slack pathway) กล่าวคือ พืช C จะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) ในการสังเคราะห์แสงได้อย่างมี
2
4
ประสิทธิภาพมากกว่าพืช C เนื่องจากมีส่วนของ bundle sheath ชั้นนอกที่เป็นเซลล์ขนาดใหญ่และมี
3
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ