Page 108 -
P. 108
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
102
โครสร้างพืช
guard cell
pore
ภาพที่ 5. 21 การเกิดปากใบบนชั้น epidermis
การเกิดปากใบบนชั้นของ epidermis อาจมีต าแหน่งที่แตกต่างกันไป เนื่องจากพืชเจริญเติบโต
ในสภาพแวดล้อมต่างกันสามารถปรับโครงสร้างภายในของใบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ ได้แก่
การมีปากใบอยู่ลึกลงไปกว่า ชั้น epidermis ที่อยู่ข้างเคียง เรียกปากใบชนิดนี้ว่า sunken stomata เช่น
ใบยางอินเดีย (ภาพที่ 5.22) การมีปากใบอยู่สูงกว่า ชั้น epidermis ที่อยู่ข้างเคียงเรียกปากใบชนิดนี้ว่า
raised stomata เช่น ใบบัว (ภาพที่ 5.23) และ การมีปากใบที่อยู่ในระดับเดียวกับกับชั้น epidermis
เรียกปากใบชนิดนี้ว่า typical stomata เช่น ใบข้าวโพด (ภาพที่ 5.24) นอกจากเซลล์คุมแล้วชั้นของ
epidermis อาจมี glandular cell และขน (hair) ส าหรับพืชพวกวงศ์หญ้ามี bulliform cell (ภาพที่ 5.24)
เป็นเซลล์ที่มีผนังบาง แต่มีขนาดของเซลล์ใหญ่กว่าเซลล์ในชั้น epidermis ที่อยู่ใกล้เคียง
water storage cell storage cell
water
sunken stomata
ภาพที่ 5.22 ลักษณะโครงสร้างภายในของใบยางอินเดียที่มีปากใบที่เรียกว่า sunken บริเวณ
ด้านล่างของใบ และมีเซลล์เก็บน้ าที่เรียกว่า water storage cell (ภาพโดย มาลี ณ
นคร)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ