Page 116 -
P. 116
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
110
โครสร้างพืช
อับเกสรเพศผู้เมื่อยังอ่อนจะประกอบด้วย epidermal cell ที่ห่อหุ้มเนื้อเยื่อเจริญบางส่วน มีการ
แบ่งเซลล์และขยายตัวเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า archesporium ต่อมากลุ่มเซลล์ดังกล่าวนี้มีการแบ่งเซลล์
และให้กลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อที่เรียกว่า sporogenous tissue ซึ่งจะแบ่งเซลล์ต่อไปเพื่อก าเนิดเป็น
microspore mother cell และ แบ่งเซลล์แบบ ไมโอซิสเป็น microspore และ พัฒนาเป็น pollen grain
ต่อไป (ภาพที่ 6.3)
พืชที่มีวิวัฒนาการสูงจะมีจ านวนเกสรเพศผู้น้อย โดยอาจลดลงมาเหลือเพียง 10 หรือ 5 อัน
นอกจากนี้ บางชนิดเกสรเพศผู้บางส่วนเป็นหมัน (sterile) เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันไม่สามารถสร้างเซลล์
สืบพันธุ์หรือละอองเรณูได้ เรียกว่า staminode เช่นดอก ชงโค กล้วย และธรรมรักษา เป็นต้น เกสรเพศผู้
ที่เป็นหมันของพืชบางชนิดอาจเปลี่ยนรูปร่างไปมีลักษณะคล้ายกลีบดอก เรียกว่า petaloid staminode
(ภาพที่ 6.4) เช่น พุทธรักษา โดยมีลักษณะเป็นแผ่นกว้างขนาดใหญ่ และมีสีต่างๆ มีรังไข่สีเขียวค่อนข้าง
ป่องติดอยู่ถัดเข้าไปจากกลีบดอกที่แท้จริงซึ่งมีสีต่างๆ เช่นเดียวกัน และมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 3 กลีบ อยู่
ด้านนอก จ านวนและลักษณะของเกสรเพศผู้ในพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป
ภาพที่ 6.4 เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันของพืชและเปลี่ยนรูปร่างคล้ายกลีบดอก (petaloid staminode)
4. เกสรเพศเมีย (pistil ) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเกสรเพศผู้เข้าไปชั้นในสุดของดอก วงของเกสร
เพศเมียเรียกว่า gynoecium มีหลักฐานกล่าวว่าเกสรเพศเมียมีพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงมาจากใบ
โดยการโอบเข้าหากันของขอบใบทั้งสองด้านมาชิดกันแล้วเชื่อมติดกัน เพื่อท าหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์
เกสรเพศเมียแต่ละอันเรียกว่า carpel ซึ่งประกอบด้วย รังไข่ (ovary) ก้านชูเกสรเพศเมีย (style) และ
ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) (ภาพที่ 6.5) เกสรเพศเมียแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ (ภาพที่ 6.6) คือ
1) simple pistil คือ เกสรเพศเมียที่ประกอบขึ้นด้วย 1 carpel
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ