Page 124 -
P. 124

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             118
                     โครสร้างพืช


                   1.7  umbel ดอกย่อยเจริญออกมาจากบริเวณเดียวกัน ก้านดอกย่อยมีความยาวเกือบเท่ากัน

            ท าให้ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม บริเวณโคนของก้านดอกย่อยที่รวมกันมีใบประดับห่อหุ้มอยู่ด้วย ท า
            หน้าที่ป้องกันอันตรายต่อดอกย่อยเมื่อยังอ่อน เช่น ดอกกุยช่าย พลับพลึง หอม และกระเทียม ในพืชบาง

            ชนิดมีช่อดอกที่เรียกว่า compound umbel ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ umbel หลายๆ ช่อมารวมกันที่บริเวณ
            เดียวกัน เช่น ผักชีล้อม

                   1.8  panicle    ดอกย่อยเกิดบนแกนกลางที่มีการแตกแขนงของช่อดอก (compound
            indeterminate)  มีลักษณะคล้ายมี raceme หลายๆ อันมาเกาะต่อกัน เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง และช่อดอกเพศ

            ผู้ของข้าวโพด

                   2.  determinate inflorescence หรือ cymose    ดอกย่อยเจริญมาจากตายอด (terminal bud)
            โดยดอกย่อยที่อยู่ด้านในสุดหรือบนสุดจะแก่และบานก่อน แบ่งออกได้เป็น (ภาพที่ 6.13)

                   2.1  cyme  เป็นดอกช่อที่แต่ละก้านช่อดอกที่มารวมกันมีเพียง 3 ดอกย่อยเท่านั้น  โดยก้านดอก

            ย่อยแยกออกจากแกนกลางที่จุดเดียวกัน  ดอกย่อยที่อยู่ตรงกลางจะบานและแก่ก่อน ได้แก่ ดอกผักบุ้ง
                   2.2  dichasium  เป็นดอกที่คล้ายกับ cyme แต่ดอกตรงกลางจะสั้นกว่าดอกด้านริม บางครั้ง

            อาจเรียกช่อดอกแบบนี้ว่า simple dichasium เนื่องจากช่อดอกมีดอกย่อยหรือช่อย่อยที่แตกออกมาใน
            แนวระนาบ (sympodium) ครั้งละ 2 ดอก นั่นเอง เช่น ต้อยติ่ง และมะลิ  ในพืชบางชนิดมีช่อดอกแบบที่

            เรียกว่า compound cyme หรือ compound dichasium  โดยมีดอกย่อยแตกออกด้านข้างคล้าย cyme
            หลายๆ ครั้ง  ดอกที่อยู่ตรงกลางของกลุ่มดอกย่อยในแต่ละชุดจะบานก่อนเสมอ เช่น ผักบุ้งฝรั่ง หนุมาน

            นั่งแท่น และโคมญี่ปุ่น

















                  ภาพที่ 6.13  determinate inflorescence หรือ cymose ของช่อดอก ที่พบในพืชมีดอก


            รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129