Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
งาด�าพันธุ์ซีเอ็ม-07 (CM-07)
รองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วงษ์ใหญ่ *
รายละเอียดผลงาน
งาด�าพันธุ์ซีเอ็ม-07 เป็นงาพันธุ์แท้ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยโครงการปรับปรุงพันธุ์งา ภาควิชาพืชไร่นา
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คัดเลือกพันธุ์โดยวิธีจดประวัติจากคู่ผสม
KUsr6040 x China 2 ได้สายพันธุ์ TQ 8069 (KUsr6040 x China2-3-2-2-1) เป็นสายพันธุ์ฝักต้านทานการแตก
ซึ่งช่วยลดการสูญเสียผลผลิตจากการร่วงของเมล็ดเนื่องจากฝักแตกเมื่อสุกแก่ และสายพันธุ์ TQ8069 ได้รับ
พระราชทานชื่อจากองค์ประธานสถาบันจุฬาภรณ์ว่า CM-07
ลักษณะเด่นของงาด�าขาวพันธุ์ซีเอ็ม-07 ได้แก่ เมล็ดขนาดใหญ่ สีด�าสนิท และฝักต้านทานการแตก
ซึ่งหมายถึง เมื่อฝักสุกแก่ ปลายฝักเปิดอ้าเล็กน้อย แต่การร่วงของเมล็ดน้อยมาก เมื่อน�าฝักมาตรวจสอบ
การร่วงของเมล็ดจากฝักโดยการเขย่าฝักและน�าฝักมาคว�่าปลายฝักลง พบว่ามีเมล็ดคงเหลืออยู่ในฝักประมาณ
95 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบฝักงาที่ปลายฝักปิดสนิทด้วยประมาณ 2-50 เปอร์เซ็นต์ต่อต้น
การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
ได้แนะน�างาด�าพันธุ์ซีเอ็ม-07 ให้แก่เกษตรกรในปี พ.ศ 2551 การปลูกงาพันธุ์ฝักต้านทานการแตก
จะช่วยลดการสูญเสียผลผลิตจากการร่วงของเมล็ดในงาพันธุ์ฝักแตกที่ปลูกเป็นการค้าอยู่ในปัจจุบัน ท�าให้ผล
ผลิตงาต่อไร่สูงขึ้น นอกจากนี้ช่วยให้การปลูกและผลิตงามีประสิทธิภาพเพราะสามารถใช้เครื่องจักรกลเกษตร
เช่น เครื่องปลูก เครื่องเก็บเกี่ยวและเครื่องกะเทาะเมล็ด เป็นต้น
ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
ผลผลิตงาต่อไร่สูงขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ผลผลิตงาเพิ่มขึ้นในพื้นที่ปลูกเท่าเดิม
* ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
หน้า 36 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์