Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                            คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           Faculty of Agriculture, Kasetsart University


               ปอกเปลือก) 5.65 สูงกว่าพันธุ์ G-5414 ซึ่งให้อัตราแลกเนื้อ 7.19 พันธุ์ KBSC 605 มีอายุเก็บเกี่ยววันแรก
               49.5 วัน ให้จ�านวน 1.77 ฝัก/ต้น ฝักอ่อนสีเหลือง ปลายแหลม ไข่ปลาเรียงแถวสม�่าเสมอ มีความสูงต้น 190 ซม.
               ความสูงฝัก 104 ซม. ต้านทานการหักล้ม และโรคทางใบ มีลักษณะต้นที่ดี และให้น�้าหนักต้นสด 6,496 กก./ไร่
               พันธุ์ KBSC 605 ให้น�้าหนักฝักดี จ�านวนฝักดี เปอร์เซ็นต์ฝักดี อัตราแลกเนื้อ ลักษณะฝักอ่อน และน�้าหนัก

               ต้นสด ส่วนใหญ่ดีกว่าพันธุ์ลูกผสมการค้า PAC 271, G-5414 และ CPB 468
                     ผลงานวิจัยเรื่อง ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวที่ไม่ต้องถอดยอดพันธุ์ใหม่ KBSC 605 ได้รับ
               รางวัลชมเชยในการประกวดนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2552



                  การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
                     เกษตรกรความพึงพอใจในพันธุ์เกษตรศาสตร์ 3 (KBSC 605) ดังนี้
                     1.  ขนาดฝักของพันธุ์ KBSC 605 ใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ น�้าหนักฝักดีกว่า และผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น
                     2.  มีล�าต้นที่ใหญ่และแข็งแรง มีปริมาณมาก เกษตรกรสามารถใช้เลี้ยง โค กระบือ ได้ดี

                     3.  เก็บเกี่ยวฝักได้ทันทีที่ไหมออก ไม่ต้องรอให้ไหมยาว 2-3 นิ้ว เหมือนพันธุ์อื่นๆ (พันธุ์อื่นๆ เกษตรกร
               ต้องรอให้ไหมยาว เพื่อรอให้ฝักโต จึงจะได้น�้าหนักฝักสูง)
                     4.  หักง่ายขั้วฝักไม่เหนียว ใบไม่บาดตา ปอกเปลือกง่าย และไหมไม่ติดฝัก



                     บริษัท แอกโกร-ออน (ไทยแลนด์) จ�ากัด มีความพึงพอใจในพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ไม่ต้อง
               ถอดยอด KBSC 605 มีดังนี้
                     1.  พันธุ์ KBSC 605 มีลักษณะฝักปลายไม่แหลมเรียวมากท�าให้ปลายฝักไม่หักและช�้าง่าย และมี
               น�้าหนักต่อฝักสูงกว่าพันธุ์อื่น

                     2.  ฝักมีสีเหลือง ไข่ปลา (รังไข่) เรียงตรง และมีขนาดฝัก ตรงความต้องการของตลาด


                     เผยแพร่พันธุ์ KBSC 605 ในการประชุมทางวิชาการในและต่างประเทศ จัดนิทรรศการ

               แปลงสาธิต หนังสือพิมพ์ วารสารทางวิชาการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ แผ่นพับ และ CD


                     การบรรยาย เกษตรกร เจ้าหน้าที่ทางการเกษตร และผู้บริหารภาครัฐและเอกชน นิสิต นักศึกษา
               สถาบันการศึกษาต่างๆ รวม 20 มหาวิทยาลัย/สถาบัน จ�านวน 200 - 300 คนต่อปี และประชาชนทั่วไป

               ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบัน


                  ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
                     ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน

               ด้านเศรษฐกิจ
                     1.  พันธุ์เกษตรศาสตร์ 3 (KBSC 605) เป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงมากในเขตพื้นที่จังหวัด
               อุทัยธานี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี และกาญจนบุรี ก�าลังเป็นที่นิยมของเกษตรกร และใช้แปรรูปเพื่อ
               การส่งออกในขวดแก้วในโรงงานแปรรูปในจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ โรงงานแปรรูปในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
               และโรงงานแปรรูปใน เขตจังหวัดภาคเหนือสนใจก�าลังน�าไปปลูกทดสอบ และจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก

               ต่อไป โดยมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ในระยะแรกปีละมากกว่า 100 ตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
               และบริษัทเมล็ดพันธุ์ในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินเดีย โมแซมบิค ต้องการสิทธิในการน�าสายพันธุ์พ่อ
               และแม่ไปผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม


                                                                      ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 33
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42