Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
งาขาวพันธุ์ซีเอ็ม-53 (CM-53)
รองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วงษ์ใหญ่ *
รายละเอียดผลงาน
งาขาวพันธุ์ซีเอ็ม-53 เป็นงาพันธุ์แท้ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยโครงการปรับปรุงพันธุ์งา ภาควิชาพืชไร่นา
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คัดเลือกพันธุ์โดยวิธีจดประวัติจาก
คู่ผสม KUsr4001-1-1-1 x Gautemala สายพันธุ์ KUsr 4001-1-1-1 มีลักษณะฝักไม่แตก ส่วนสายพันธุ์
Gautemala เป็นพันธุ์ฝักแตก สายพันธุ์พ่อแม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ มีเมล็ดขนาดใหญ่ คัดเลือกได้สายพันธุ์
ฝักต้านทานการแตก KUAOX 24 (KU 4001-1-1-1 x Gautemala-75-6-2-10 ต่อมาสายพันธุ์ KUAOX 24
ได้รับพระราชทานชื่อจากองค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ว่า CM-53
ลักษณะเด่นของงาขาวพันธุ์ซีเอ็ม-53 ได้แก่ฝักต้านทานการแตก เมล็ดขนาดใหญ่ สีขาวและมี
ปริมาณสาร เซซามิน และเซซาโมลินค่อนข้างสูง ฝักต้านทานการแตก หมายถึงเมื่อฝักสุกแก่ ปลายฝักเปิดอ้า
เล็กน้อย แต่การร่วงของเมล็ดน้อยมาก เมื่อน�าฝักมาตรวจสอบการร่วงของเมล็ดจากฝักโดยการเขย่าฝักและ
น�าฝักมาคว�่าปลายฝักลง พบว่ามีเมล็ดคงเหลืออยู่ในฝักประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบฝักงาที่
ปลายฝักปิดสนิทด้วย
การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
ได้แนะน�างาขาวพันธุ์ซีเอ็ม-53 ให้แก่เกษตรกรในปี พ.ศ. 2553 เกษตรกรมีพันธุ์งาขาวที่มีเมล็ดใหญ่
ให้ผลผลิตสูงและปลูกได้ตลอดปีซึ่งแตกต่างจากงาขาวพันธุ์พื้นเมืองที่ต้องปลูกในระหว่างเดือนกรกฎาคม
ถึงตุลาคมเท่านั้นเนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง
ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
ประเทศไทยสามารถผลิตงาขาวได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ และสามารถส่งออก
ได้ด้วย
* ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
หน้า 38 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์