Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวไม่ต้องถอดยอดพันธุ์
เกษตรศาสตร์ 3 (KBSC 605)
ดร. โชคชัย เอกทัศนาวรรณ *
นายนพพงศ์ จุลจอหอ *, นางชไมพร เอกทัศนาวรรณ **
รายละเอียดผลงาน
สายพันธุ์พ่อและสายพันธุ์แม่ ที่ใช้ในการสร้างพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยว เกษตรศาสตร์ 3
(KBSC 605) ที่ไม่ต้องถอดยอดเนื่องจากมีเพศผู้เป็นหมัน มีดังนี้
1. สายพันธุ์แท้ข้าวโพดฝักอ่อนที่มีลักษณะเพศผู้เป็นหมันอันเนื่องมาจากไซโตปลาสซึมชนิด
C (cytoplasmic male sterility, cms) Ki 28 cms ใช้เป็นสายพันธุ์แม่ (A line) ของพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 3
2. สายพันธุ์รักษาความเป็นหมัน (maintainer line หรือ B line) ของสายพันธุ์แท้ Ki 28 cms คือ Ki 28
3. สายพันธุ์แท้ PACB 421-S -223 ใช้เป็นสายพันธุ์พ่อของพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว เกษตรศาสตร์ 3
14
วิธีการสร้างพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวที่ไม่ต้องถอดยอด เกษตรศาสตร์ 3 (KBSC 605)
มีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างสายพันธุ์แม่ Ki 28 cms โดยน�าละอองเกสรของสายพันธุ์แท้ Ki 28 ไปผสมกับสายพันธุ์แท้
Ki 28 cms
2. สร้างพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวที่ไม่ต้องถอดยอด KBSC 605 โดยน�าละอองเกสรของ
สายพันธุ์แท้ PACB 421-S -223 ไปผสมกับสายพันธุ์แท้ Ki 28 cms
14
ลักษณะประจ�าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 3 (KBSC 605)
พันธุ์ เกษตรศาสตร์ 3 (KBSC 605) เป็นพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่มีลักษณะเพศผู้เป็นหมัน 100% ท�าให้
เกษตรกรไม่ต้องถอดยอด ให้น�้าหนักฝักสดทั้งเปลือก 1,049 กก./ไร่, น�้าหนักฝักสดปอกเปลือก 188 กก./ไร่
น�้าหนักฝักสดมาตรฐาน 164 กก./ไร่ น�้าหนักฝักเสีย 24 กก./ไร่ จ�านวนฝักดี 26,052 ฝัก/ไร่ (90.61%)
จ�านวนฝักเสีย 2,701 ฝัก/ไร่ (9.39%) นอกจากนี้ ยังให้อัตราแลกเนื้อ (น�้าหนักฝักทั้งเปลือก/น�้าหนักฝัก
* ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30320
** ฝ่ายฝึกอบรม ส�านักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
หน้า 32 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์