Page 56 -
P. 56

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                  สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้น สามารถก่อให้
          เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลในช่วงครึ่ง

          ศตวรรษที่ผ่านมา จนนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาค
          เอกชนที่มีความก้าวหน้าอย่างยิ่งในปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม  มูลค่าผล

          ประโยชน์จากงานวิจัยดังกล่าวยังไม่ได้มีการประเมินไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น
          การประเมินมูลค่าของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการวิจัยและพัฒนา
          สายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งที่อยู่ในรูปของผลประโยชน์ทางตรงที่สามารถ

          ประเมินเป็นมูลค่าทางการตลาดได้และผลประโยชน์ทางอ้อมที่มีมูลค่า แต่ไม่
          สามารถประเมินในทางการตลาดได้นั้นจึงเป็นพันธกิจที่สำคัญประการหนึ่ง

          ซึ่งผู้กำหนดนโยบายภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องในภาคเอกชนสมควรพิจารณานำ
          มาประยุกต์ต่อยอดในการวางนโยบาย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตข้าว
          โพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป (กัมปนาท วิจิตรศรีกมลและคณะ, 2555)

                  จากการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผ่านมาในอดีต เพื่อ
          การส่งเสริมการปลูกในระดับไร่นาสำหรับเกษตรกรรายย่อย เพื่อป้อน

          วัตถุดิบให้ภาคปศุสัตว์ที่มีขนาดจำกัดในขณะนั้นจนถึงยุคปัจจุบันที่การผลิต
          ข้าวโพดได้เจริญก้าวสู่อุตสาหกรรมการผลิต เพื่อการค้าอย่างเต็มตัวในการ
          ตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์และ

          อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ที่นับวันจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
          (กัมปนาท วิจิตรศรีกมลและคณะ, 2555)

                  นอกจากนั้น ในปัจจุบันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นวัตถุดิบสำหรับ
          การผลิตพลังงานทางเลือกในรูปของเอทานอลอีกด้วย ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจ
          การเกษตร (2553) รายงานว่าในปีเพาะปลูก 2553/54 ความต้องการใช้ข้าว

          โพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีสูงถึง 4.58 ล้านตัน ในขณะที่กำลังการผลิตข้าว
          โพดเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดของประเทศมีเพียง 4.46 ล้านตัน เท่านั้น

                  หากพิจารณาในช่วงระยะเวลา 2 ทศวรรษ (ปี พ.ศ. 2535-2553)





     36
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61