Page 55 -
P. 55

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                      บทที่ 3



                    งานวิจัยข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


            ความสำคัญของการศึกษา
                     ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง เพราะว่า

            ผลผลิตข้าวโพดมีมูลค่าผล ผลิตสูงจัดเป็นอันดับ 7 ของผลผลิตทั้งหมด
            ภายในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่

            สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะนำไปผลิตเป็นอาหารทั้ง
            มนุษย์และของสัตว์ อีกทั้งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็น
            เครื่องมือและเครื่องใช้ต่างๆได้หลากหลายชนิด เช่น พลาสติก เชื้อเพลิง

            น้ำมันพืช ฯลฯ
                     การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยดำเนินมานานกว่า

            5 ทศวรรษ ซึ่งเริ่มกำเนิดขึ้นตั้งแต่การที่ภาครัฐโดยกรมกสิกรรมในสมัยนั้น
            (ปัจจุบันคือกรมวิชาการเกษตร) ได้นำพันธุ์ข้าวโพดจากประเทศกัวเตมาลา
            มาทดสอบและทดลองปรับปรุงพันธุ์ในช่วงทศวรรษ 1940-1950 โดยสาย

            พันธุ์ข้าวโพดไทยที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็นครั้งแรกโดยกรมวิชาการเกษตร
            มีชื่อว่า“พระพุทธบาท”ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มี

            โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเช่นกัน จนกระทั่งมีการแนะนำสาย
            พันธุ์ใหม่ในยุค 1970 คือ “สุวรรณ1” (ทวีศักดิ์ ภู่หลำ, 2554)
                     ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จในการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวโพดในทาง

            เศรษฐกิจและเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมการผลิตข้าวโพด
            เลี้ยงสัตว์ในภาคเอกชนจวบจนปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า งานวิจัยเพื่อพัฒนา

            สายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะเริ่มแรกของการตั้ง
            ภาครัฐเป็นผู้วางรากฐานของการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดอย่าง
            แท้จริง



                                                                            35
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60