Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และถ่ายทอดสู่สาธารณะการพัฒนาเทคโนโลยีและผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจจากโครงการวิจัยย่อยซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม
ประมาณ 4.2 ล้านบาท นอกจากนี้ การประเมินผลประโยชน์จากงานวิจัย
บางโครงการยังแสดงให้เห็นถึงการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตร ดังเช่น งาน
วิจัยของ สมพร อิศวิลานนท์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล (2551) ที่ได้มีการ
ประเมินผลกระทบของชุดโครงการการจัดการธาตุอาหารพืชประเภทข้าว
และอ้อยในพื้นที่ นอกจากนี้ ผลการประเมินพบว่า การยอมรับเทคโนโลยี
ของเกษตรกรสามารถช่วยลดต้นทุนต่อไร่ในการเพาะปลูกได้ ซึ่งผลการ
ประเมินประโยชน์ของงานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการ
ลงทุนวิจัย รวมถึงการให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการ
ขยายการยอมรับเทคโนโลยีในวงกว้างของเกษตรกร
ในขณะที่ กัมปนาท วิจิตรศรีกมลและคณะ (2556) ได้ศึกษาการ
ประเมินผลประโยชน์จากการพัฒนาสายพันธ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไปนั้น
งานวิจัยด้านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองสาขา คือ สาขา
วิทยาศาสตร์การเกษตร และสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสังคม ผลงาน
วิจัยสายวิทยาศาสตร์เกษตรที่เกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นงานวิจัยพื้น
ฐานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตและคุณภาพผลผลิต ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมความ
มั่นคงทางด้านอาหารแก่ประชากร รวมถึงทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยว
กับการผลิตเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ด้าน
โครงสร้างผลงานวิจัยสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสังคมนั้น มีวัตถุประสงค์
ในการวิจัย เพื่อพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางเศรษฐกิจและการตลาดเป็น
หลัก และมีประโยชน์ในด้านการช่วยบรรเทาความยากจนและเพิ่มการ
กระจายรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก โดยผลการ
ศึกษาในส่วนของการประเมินผลประโยชน์จากงานวิจัยระบุว่า การวิจัย
31