Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หลักการตัดสินใจที่แสดงว่าโครงการมีค่าความเหมาะและมีความ
คุ้มค่าทางทางด้านเศรษฐกิจและด้านการเงินหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจาก
อัตราผลตอบแทน แทนภายในโครงการ คือ เมื่ออัตราผลตอบแทนภายใน
โครงการสูงกว่าค่าเสียโอกาสของทุน
กล่าวโดยสรุป ในการพิจารณาถึงความคุ้มค่าต่อการลงทุนในขณะ
หนึ่งๆ นั้นสามารถพิจารณาได้จากเกณฑ์ข้างต้นที่กล่าวมา ทั้งนี้หากงานวิจัย
นั้นสร้างผลกระทบจนเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนวิจัยและเมื่อนำมา
พิจารณาเปรียบเทียบกับต้นทุนของการวิจัยแล้วทำให้ NPV มีค่ามากว่าศูนย์
หรือ ค่า BCR มีค่ามากกว่าหนึ่ง หรือค่า IRR มากกว่าค่าเสียโอกาสของเงิน
ลงทุนนั้นจะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการวิจัยนั้นมีความคุ้มค่าเกิดขึ้นนั่นเอง
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยที่
มีผลต่อสังคมนั้นกัมปนาท วิจิตรศรีกมล (2553) ระบุว่าสามารถพิจารณาผล
ประโยชน์ดังกล่าวได้จากมูลค่าของ “ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ” ประกอบด้วย
ส่วนเกินทั้งของผู้บริโภคและผู้ผลิต โดยส่วนเกินทางเศรษฐกิจนี้จะคำนวณใน
รูปของผลประโยชน์สุทธิซึ่งควรมีค่าเป็นบวกหรือมีผลดีต่อสังคมโดยรวม
เสมอ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ
เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานของระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้
ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้สังคมได้รับส่วนเกินทางเศรษฐกิจที่
เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าบางส่วนของสังคมอาจจะมีการสูญเสียผลประโยชน์ไปบ้าง
แต่โดยรวมแล้วสังคมได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การประเมินผล
ประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์จากงานวิจัยนั้น อาจเกี่ยวข้องกับการประเมิน
มูลค่าที่ราคาไม่ปรากฏ ในตลาด ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อด้าน
สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การประเมินมูลค่าจึงต้องอาศัยวิธีการ
29