Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด “สุวรรณ 1” ก่อให้เกิดผลประโยชน์คิดเป็น
มูลค่าปัจจุบันสุทธิในปี พ.ศ. 2509 สูงถึง 4,652 ล้านบาท และหากคิดเป็น
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ ปี พ.ศ. 2556 จะมีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า หรือคิด
เป็นมูลค่า 46,082 ล้านบาท นอกจากนี้ อัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อ
ต้นทุนยังแสดงถึงความคุ้มค่าของการลงทุนวิจัยที่ให้ผลตอบแทนประมาณ
66 เท่าของต้นทุนการทำวิจัย และเมื่อพิจารณาอัตราผลตอบแทนภายใน
จากการลงทุนวิจัยแล้ว พบว่า ให้ผลตอบแทนสูงถึงเกือบร้อยละ 70
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานได้ประเมินผล
ประโยชน์จากงานวิจัยภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานตนเอง ดังเช่น
สมพร อิศวิลานนท์ สุวรรณา ประณีตวตกุลและกัมปนาท วิจิตรศรีกมล
(2548) ได้ประเมินผลประโยชน์ของโครงการโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและ
อุตสาหกรรมการผลิตสตรอเบอร์รี่ภายใต้เงินทุนสนับสนุนของศูนย์พันธุ
วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยพบว่า จากยอดเงินลงทุนใน
โครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสตรอเบอร์รี่จากปี 2537-
2548 เป็นจำนวน 16.36 ล้านบาท นั้นได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่
เป็นผลตอบแทนสุทธิจนถึงปี 2548 ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5 พบว่า มีค่า
เท่ากับ 7.07 ล้านบาท (คิดเทียบมูลค่ากลับไปในปีที่เริ่มต้นโครงการ) โดยมี
B/C-ratio เท่ากับ 1.63 นอกจากนี้หากพิจารณาว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
จากงานวิจัยดังกล่าวสามารถใช้ได้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2556 (หรืออีก 8 ปี
ข้างหน้า) พบว่า มูลค่าผลตอบแทนสุทธิจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 24 ล้านบาท โดยมี
B/C-ratio เท่ากับ 3.05 จึงสรุปได้ว่า การลงทุนในโครงการพัฒนาเทคโนโลยี
และอุตสาหกรรมสตรอเบอร์รี่ได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจคุ้มค่ากับ
การลงทุน และขนาดของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อ
เทคโนโลยี ดังกล่าว ได้มีการใช้สืบต่อเนื่องไปในอีก 8 ปีต่อไป และในระยะ
ต่อมาศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (2552) ได้มีการ
32