Page 57 -
P. 57
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย
ร้อยละ 1.99 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
1.47 ต่อปี ถึงแม้ว่าผลผลิตโดยรวมมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายใน
ประเทศประเทศไทยก็ยังคงมีการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากราคา
ข้าวโพดในตลาดโลกอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาภายในประเทศ เป็นผลให้มี
ความต้องการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบ
สนองความต้องการใช้ภายในประเทศเช่นกัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
อ้างถึงในเอมอร อังสุรัตน์และคณะ, 2555) ซึ่งภาวการณ์ขาดแคลนข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยนั้น พบว่า นอกจากเกิดจากการที่ผลผลิตลดลงจาก
ภัยธรรมชาติแล้วยังพบว่า ภาวะความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก
โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้
นำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็น
พลังงานทางเลือก เพื่อทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม ที่มีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่องด้วย (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2553)
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคอีกประการหนึ่งของการผลิตข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ในประเทศ ได้แก่ แนวโน้มการขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกพืชแข่งขันมี
อัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเอมอร อังสุรัตน์และคณะ (2555) ได้ชี้ให้
เห็นว่า ขณะที่ปริมาณผลผลิตโดยรวมและผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม แต่ขนาดพื้นที่เพาะปลูกมีแนวโน้มที่ลดลงในช่วงสอง
ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ สาเหตุประการสำคัญ คือ การแข่งขันในการใช้ที่ดิน
ของพืชแข่งขันที่สำคัญ เช่น ยางพารา อ้อยและมันสำปะหลัง เป็นต้น ทั้งนี้
ราคาเปรียบเทียบของพืชแข่งขันสูงกว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างมีนัย
สำคัญโดยในปี พ.ศ. 2553 พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ 7.12 ล้านไร่
ภายใต้อัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.24 ต่อปี ในขณะที่พื้นที่ปลูกยาง
พาราทั่วประเทศมีถึง 17.96 ล้านไร่ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.09
37