Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต่อปี ส่วนอ้อยนั้นมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 6.31 ล้านไร่ และมีอัตราการขยายตัว
ร้อยละ 4.77 ต่อปี เช่นกัน (กัมปนาท วิจิตรศรีกมลและคณะ, 2555)
ในยุคเริ่มแรกของการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ
ไทยนั้น นักวิจัยที่เป็นผู้บุกเบิกสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงปี พ.ศ.
2500-2510 ประกอบด้วย ศ.ดร.สุจินต์ จินายน ศ.ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ฯ
ฯพณฯอำพล เสนาณรงค์ อาจารย์อุดม ภู่พิพัฒน์และDr.Charles Moore
ซึ่งการวิจัยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ถูกผลิตขึ้น
ได้แก่ พันธุ์พระพุทธบาทต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2517 นักวิจัยกลุ่มดังกล่าว
ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ผสมเปิดที่มีชื่อ
ว่า“สุวรรณ 1” ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่เกษตรกรจนเป็นพื้นฐาน
ให้กับการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์สำหรับนักวิจัยจำนวนมาก (อาทิ ศ.ดร.
เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ
และดร.อเนก ศิลปะพันธ์ เป็นต้น) และอุตสาหกรรมการผลิตข้าวโพดมี
อัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคการผลิตของ
เอกชน (ทวีศักดิ์ ภู่หลำ, 2554)
สำหรับในส่วนของการศึกษา ประเด็นเกี่ยวกับการประเมินผล
ประโยชน์ของงานวิจัยด้านการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ
ไทย ยังมิได้มีผู้ทำการศึกษาไว้อย่างเป็นระบบซึ่งการศึกษาในประเด็นเหล่านี้
ถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และความมั่นคง
ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์และการ
ผลิตอาหารสัตว์ของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่การศึกษาครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นการประมวลทบทวนและสังเคราะห์เอกสารที่
เกี่ยวข้องรวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิในวงการ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ ประเด็นการวิเคราะห์ยังครอบคลุมถึงการ
ประเมินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น (Research Spillover Effects) จากงานวิจัย
38