Page 59 -
P. 59

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



            และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การจัดสรรความร่วมมือระหว่าง
            องค์กรผู้ทำหน้าที่จัดสรรทุนในการวิจัยและ ผู้ทำการวิจัย รวมทั้งเป็นข้อมูล

            พื้นฐานที่นำไปสู่การตัดสินใจของผู้ทำหน้าที่จัดสรรทุนเพื่อวิจัยที่ต่อเนื่องต่อ
            ไปในอนาคต

                     ในการศึกษานี้เป็นการพิจารณาถึงเส้นทางบุกเบิกการวิจัยและ
            พัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทย ช่วงเวลาปี พ.ศ. 2500-2557 โดยอธิบาย
            ถึงโครงสร้างและสถานภาพของงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย งานวิจัยด้าน

            วิทยาศาสตร์เกษตร และด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรและสังคม เพื่อประเมินถึง
            ผลประโยชน์ในมิติต่างๆ เช่น  ผลผลิตหลัก ความร่วมมือทางวิชาการ

            เทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และการพัฒนาบุคลากรวิจัย เป็นต้น นอกจากนั้น
            เป็นการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการพัฒนาการปรับปรุง
            พันธุ์ข้าวโพด “สุวรรณ 1” ซึ่งนับเป็นจุดกำเนิดของการพัฒนาวงการข้าว

            โพดเลี้ยงสัตว์สมัยใหม่ของไทย โดยได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์
            จากโครงการห้าทศวรรษของการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ

            ไทยและการก้าวต่อไป เพื่อรองรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กัมปนาท
            วิจิตรศรีกมลและคณะ, 2556) โดยมีหัวข้อดังนี้

                     3.2 เส้นทางบุกเบิกการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
            ไทย“สุวรรณ1”

                     ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์สุวรรณ 1 ถือเป็นต้นกำเนิดและรากฐาน
            การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทยจากห้าทศวรรษที่แล้วจนมาถึงการ

            พัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมายังมี
            การนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์สุวรรณ 1 ไปพัฒนาต่อยอดในระดับสากล

            อย่างแพร่หลายอีกด้วย  จากพลวัตของวิวัฒนาการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
            ในประเทศไทยที่ได้กล่าวมาแล้วในส่วนต้นของรายงานด้วยเหตุนี้
            ศาสตราจารย์ดร.สุจินต์ จินายน และศาสตราจารย์ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์





                                                                            39
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64