Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สุทธิที่คำนวณมูลค่าเป็นทางการเงินได้โดยตรง และผลประโยชน์สุทธิที่ใช้
การคำนวณมูลค่าด้วยวิธีการทางอ้อม โดยผลประโยชน์สุทธิทั้งสองดังกล่าว
สามารถนำมาใช้ประมาณการส่วนเกินทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งรายละเอียดได้
อธิบายไว้ในส่วนต่อไป
การลำดับประเด็นการอธิบายในส่วนนี้ ประกอบด้วย หลักการ
ทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการอธิบายเกี่ยวกับการพิจารณาผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจที่มี ต่อสังคม การวัดการเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่
เกิดขึ้น การประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์จากงานวิจัย รวมทั้งการ
ประเมินความคุ้มค่าของงานวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.2.1 การพิจารณาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อสังคม
“สังคม” ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์จะ
ประกอบด้วยหน่วยที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ผู้บริโภคและผู้ผลิต การพิจารณาผล
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับสังคมหรือระบบเศรษฐกิจ จึงเป็นการ
พิจารณาวัดผลประโยชน์ที่มีมูลค่าเกินกว่าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่แต่ละหน่วย
เศรษฐกิจต้องทำการจ่ายไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เป็นผลประโยชน์
สุทธิที่เกิดขึ้นกับสังคมอันประกอบด้วย ส่วนเกินของผู้บริโภค และส่วนเกิน
ของผู้ผลิต เป็นสำคัญ
2.2.1.1 ส่วนเกินของผู้บริโภค (Consumer’s
Surplus: C.S.)
การพิจารณาส่วนเกินของผู้บริโภคนั้น
เป็นการพิจารณาถึงผลประโยชน์สุทธิที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้า
หรือบริการ โดยต้นทุนของผู้บริโภค คือ มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ผู้
บริโภคทำการจ่ายเงินไป ระดับราคาและปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภค
พึงพอใจในการบริโภคนั้น บ่งบอกถึงระดับของความยินดี ที่จะจ่ายของผู้
16