Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



          โครงการวิจัยนั้นๆ จึงมักเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการประเมินผลตอบแทนทาง
          เศรษฐกิจหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดแก่สังคมของโครงการวิจัยนั้นๆ

          เพื่อให้เห็นความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรในการวิจัยนั้นๆ  สมพร
          อิศวิลานนท์ (2544) กล่าวว่าการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก

          โครงการวิจัยเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการประเมินผลกระทบจากโครงการ
          วิจัย โดยการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยนั้นมีความหมายและ
          ขอบเขตที่กว้างขวางกว่างานประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ

          วิจัย
                  กล่าวโดยสรุป  การประเมินผลของโครงการวิจัยนั้น  จะเป็น

          ประโยชน์ที่มีสำคัญต่อการนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลและเครื่องมือในการ
          ปรับปรุงการบริหารโครงการวิจัยภายนอกองค์กร ช่วยในการจัดลำดับความ
          สำคัญของงานวิจัยและการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในองค์กร

          ประสานความร่วมมือกับองค์กรวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
          ภาครัฐและเอกชน รวมถึงเป็นเครื่องแสดงผล การบริหารงานให้กับแหล่ง

          ให้การสนับสนุนทุนวิจัย


          2.2 การประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์จากงานวิจัย
                  กล่าวโดยทั่วไปนั้น งานวิจัยทุกประเภททั้งทางด้านวิทยาศาสตร์
          และสังคมศาสตร์มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งสนองตอบความต้องการของ

          สังคมในทุกระดับตั้งแต่ระดับชุมชนภายในประเทศไปจนถึงระดับสากล ทั้งนี้
          ผลประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยประกอบด้วยผลประโยชน์ที่มีรูปแบบหลาก

          หลายซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของงานวิจัย เช่น การประเมินผลประโยชน์ที่ได้
          จากงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) จะสามารถดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมี
          การนำผลงานวิจัยพื้นฐานไปใช้ต่อยอดในงานวิจัยประยุกต์ (Applied

          Research) สาขาต่างๆ แล้วดำเนินการประเมินผลประโยชน์ที่ได้รับในแต่ละ






     14
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39