Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขั้นตอนของการประยุกต์ใช้งานวิจัยพื้นฐานแต่ละส่วน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วมี
รายละเอียดพอสมควร แต่สำหรับงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นงานวิจัยประยุกต์
นั้น การประเมินผลประโยชน์สามารถดำเนินการได้ง่ายกว่างานวิจัยใน
ลักษณะแรก เนื่องจากผลประโยชน์ที่ได้รับค่อนข้างชัดเจน เป็นรูปธรรม
และงานวิจัยประยุกต์จำนวนมากสามารถประเมินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับ
สังคมเป้าหมายได้โดยตรงเป็นต้น
ในทางเศรษฐศาสตร์ “สังคม”ถูกพิจารณาเสมือนเป็นองค์กรที่
ประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ 2 ส่วนหลัก คือ ผู้ผลิต และผู้บริโภค ดังที่ได้
อธิบายในเบื้องต้นแล้วของบทที่ 2 ดังนั้น การพิจาณาผลประโยชน์ที่เกิดจาก
การดำเนินงานวิจัยต่างๆ นั้น แท้ที่จริงก็คือการประเมินผลประโยชน์สุทธิที่
หน่วยเศรษฐกิจทั้ง 2 ส่วนของสังคมจะได้รับนั่นเอง ตามหลักเศรษฐศาสตร์
เรียกผลประโยชน์สุทธิที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับว่า “ส่วนเกินของผู้ผลิต
( Producer’s Surplus ) ” และ “ ส่วนเกินของผู้บริโภค ( Consumer’s
Surplus ) ” ตามลำดับ และเมื่อนำส่วนเกินของทั้งผู้ผลิตและของ ผู้บริโภค
มารวมกัน เรียกว่า “ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ( Economic Surplus )” การ
พิจารณาส่วนเกินทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นการพิจารณาผลประโยชน์ที่มีมูลค่า
เกินกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นที่มาของคำว่า
“ส่วนเกิน” นั่นเอง
อนึ่ง การประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นไปตามหลัก
การทางทฤษฎีภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับส่วนเกินทางเศรษฐกิจนั้น ค่อนข้างมี
ความซับซ้อน เนื่องจาก ผู้ที่ทำการประเมินจำเป็นต้องมีองค์ความรู้พื้นฐาน
ทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อยู่พอสมควร ทั้งในด้านการวิเคราะห์สมการอุปสงค์
และสมการอุปทานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องการประเมินผลประโยชน์
อย่างไรก็ตาม ทางออกของข้อจำกัดนี้สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยการ
ประเมินผลประโยชน์สุทธิที่ได้รับจากงานวิจัยทั้งในรูปแบบของผลประโยชน์
15