Page 40 -
P. 40

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                  สำหรับผลงานวิจัยทั้งประเภทที่เป็นงานวิจัยพื้นฐานและประงาน
          วิจัยประยุกต์นั้น ผลประโยชน์ส่วนใหญ่แสดงอยู่ในลักษณะดังนี้

                  1) การสร้างองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อการต่อยอดงานวิจัยในขั้นต่อ
          ไป

                  2) การเพิ่มปริมาณผลผลิต ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนย้ายของเส้น
          อุปทานในระบบเศรษฐกิจ
                  3) การเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยทั่วไปเป็นสาเหตุให้เส้นอุปสงค์ใน

          ระบบเศรษฐกิจมีการเคลื่อนย้ายได้
                  4) การลดต้นทุนการผลิต เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

                  5) การเพิ่มคุณภาพชีวิตและสังคม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นผล
          ประโยชน์ที่ไม่มีมูลค่าทางการเงิน แต่เป็นผลประโยชน์ทางด้านสังคม
          วัฒนธรรม และสุขภาพอนามัย เป็นต้น

                  6) การเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็น
          ผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่สามารถและไม่สามารถวัดเป็นมูลค่า

          ทางการเงินได้
                  ลักษณะของผลงานวิจัยดังกล่าวข้างต้นสามารถสร้างผลกระทบต่อ
          เศรษฐกิจและสังคมได้โดยผ่านการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานใน

          ระบบเศรษฐกิจ เป็นผลให้ผลประโยชน์ที่อยู่ในรูปของส่วนเกินทางเศรษฐกิจ
          เปลี่ยนแปลง ไปด้วย ทั้งนี้ งานวิจัยทุกโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิด

          ผลประโยชน์สุทธิ ที่สามารถคำนวณเป็นส่วนเกินทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเป็น
          บวกทั้งสิ้น โดยทั่วไป ผลประโยชน์จากงานวิจัยสามารถจำแนกออกเป็น 3
          กลุ่มหลักๆ ด้วยกัน คือ ผลประโยชน์ที่มีต่อการผลิต การบริโภค และสังคม/

          สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เมื่อนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาพิจารณาประเมินผล
          ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับ 3 กลุ่ม ดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ผลประโยชน์ที่เกิด

          ขึ้นกับสองกลุ่มแรกนั้น ผลประโยชน์ส่วนใหญ่สามารถแสดงเป็นมูลค่าของ





     20
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45