Page 33 -
P. 33

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



            แผนงานที่ระบุไว้ใน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ” ซึ่งจัดทำ
            ทุกๆ 5 ปี มาแปลงเป็นโครงการวิจัย อย่างไรก็ตามพบว่าได้เกิดช่องว่างและ

            ความไม่ต่อเนื่องระหว่างกระบวนการจัดทำตัวแผน เนื่องจากขาดแนวทาง
            การปฏิบัติและรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเป็นบูรณาการ นอกจากนั้นยัง

            พบว่า บางกระทรวงมีความล่าช้าจนไม่สามารถทำงานวิจัยได้ตรงตามเวลาที่
            กำหนด
                     ในระยะต่อมาสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  โดยกอง

            วิเคราะห์โครงการและประเมิน (2535) ได้มีการจัดทำและประเมินผลความ
            ก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่เสนอของบประมาณประจำปี 2533 โดยมี

            วัตถุประสงค์ เพื่อทราบผลความก้าวหน้าของโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์
            เกษตรศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อให้ทราบถึงการเผยแพร่และการนำผลที่
            ได้จากงานวิจัยไปใช้ ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีส่งแบบสอบถามไปทาง

            ไปรษณีย์ถึงนักวิจัยของโครงการโดยตรงและส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆที่
            เกี่ยวข้องด้วยผลการวิเคราะห์ พบว่า จากโครงการวิจัยทั้งหมด 3,457

            โครงการเป็นโครงการวิจัยเกี่ยวกับประยุกต์มากที่สุดร้อยละ 58 และพบว่า
            งานวิจัยถึงร้อยละ 43 ที่ไม่เผยแพร่ผลงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ รวมถึง
            ร้อยละ 75 เป็นโครงการวิจัยที่ไม่แล้วเสร็จในช่วงเวลาที่กำหนด

                     จะเห็นได้ว่าในการประเมินโครงการวิจัยในช่วงแรกๆ นั้น เป็นการ
            วิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การจัดประเภทของงานวิจัย และวิเคราะห์ทาง

            สถิติ ซึ่งการประเมินโครงการในระยะหลังอาศัยแนวทางเศรษฐศาสตร์เพื่อ
            วิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการวิจัย


                     การประเมินโครงการวิจัยในปัจจุบัน
                     พัฒนาการของการประเมินผลของโครงการวิจัยในปัจจุบัน จะเน้น

            ถึงความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจาก





                                                                            13
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38