Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



          ปฏิบัติมีกำลังใจ มีความพึงพอใจ และมีความตั้งใจกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติ
          งานต่อไป

                  7.  การประเมินโครงการช่วยในการตัดสินใจในการบริหาร
          โครงการกล่าวคือ  การประเมินโครงการจะทำให้ผู้บริหารได้ทราบถึง

          อุปสรรค ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ความเป็นไปได้ และแนวทางในการปรับปรุง
          แก้ไขการดำเนินการโครงการโดยข้อมูลดังกล่าวแล้วจะช่วยทำให้ผู้บริหาร
          ตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการนั้นต่อไปหรือจะยุติโครงการนั้นเสีย นอกจาก

          นั้นผลของการประเมินโครงการอาจเป็นข้อมูลอย่างสำคัญ ในการวางแผน
          หรือการกำหนดนโยบายของผู้บริหารและฝ่ายการเมือง


                  2.1.1 พัฒนาการของการประเมินผลโครงการวิจัย
                  การประเมินผลโครงการวิจัยของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมายัง

          ไม่เป็นที่แพร่หลาย และมีอยู่อย่างจำกัด งานศึกษาในช่วงแรกๆ นั้นเป็นการ
          ประเมินงานวิจัย ในภาครัฐซึ่งอาศัยแหล่งเงินทุนและงบประมาณจากภาครัฐ

          โดยตรง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันหากไม่มีแรงผลักดันจากหน่วยงานหรือ
          สถาบันที่ให้การสนับสนุนเงินทุนวิจัย การประเมินผลโครงการวิจัยก็มักจะไม่
          เกิดขึ้น (ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์, 2547)


                  การประเมินผลโครงการวิจัยในระยะแรก

                  งานศึกษาชิ้นแรกๆ ที่เกี่ยวกับการประเมินผลของโครงการ วิจัยใน
          ประเทศไทยนั้น เป็นงานวิจัยของ Adulavidhaya et al. (1987) ที่ได้จัดทำ
          รายงานเกี่ยวกับการประเมินผลของการวิจัยในส่วนของภาคการเกษตรของ

          ประเทศไทย และเสนอต่อ International Development Research
          Centre, Canada (IDRC) ซึ่งมีเนื้อหาสาระในรายงาน ได้แก่ 1) การกำหนด

          นโยบายวิจัยเกิดจากการที่กรมกองต่างๆ ภายใต้กระทรวง ทบวง กรม ได้นำ





     12
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37