Page 93 -
P. 93
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 75
ในการเปลี่ยนแปลงสถานะจากของเหลวเป็นไอ โมเลกุลของของเหลวต้องการ
พลังงานเพื่อท าลายพันธะเคมีที่ยึดระหว่างโมเลกุลและเพื่อเพิ่มพลังงานจลน์แก่ไอ เนื่องจาก
พลังงานจลน์ของไอมีค่ามากกว่าพลังงานจลน์ของของเหลว จึงต้องการความร้อนเพื่อกิจกรรม
ดังกล่าว เรียกความร้อนนี้ว่า ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (latent heat of vaporization) การ
เปลี่ยนแปลงสถานะของน ้าเป็นไอน ้าต้องการพลังงานเพื่อท าลายพันธะไฮโดรเจนที่ยึดระหว่าง
โมเลกุลของน ้าให้หลุดออกจากกัน และเพื่อเพิ่มพลังงานจลน์แก่โมเลกุลของน ้า จึงเรียกพลังงานนี้
ว่า ความร้อนแฝงของการระเหยน ้า (latent heat of evaporation, L )
v
4.2 การคาดคะเนการระเหยน ้าจากแหล่งน ้า
การระเหยน ้าจากแหล่งน ้าสามารถคาดคะเนปริมาณได้จากหลักการทรงมวล
(conservation of mass) โดยวิธีสมดุลของงบดุลน ้า (water balance method) คาดคะเนจากสภาพ
ทรงพลังงาน (conservation of energy) โดยวิธีสมดุลของพลังงาน (energy balance method)
คาดคะเนจากสภาพทรงโมเมนตัม (conservation of momentum) โดยวิธีอากาศพลศาสตร์
(aerodynamic method) รายละเอียดในการคาดคะเนปริมาณน ้าระเหยจากแหล่งน ้าดังต่อไปนี้
4.2.1 การคาดคะเนการระเหยน ้าจากแหล่งน ้าโดยวิธีสมดุลของงบดุลน ้า
การคาดคะเนปริมาณน ้าระเหยจากแหล่งน ้าโดยวิธีสมดุลของงบดุลน ้าเกี่ยวข้อง
กับสภาพทรงมวลของน ้าภายใต้หลักการด้านความต่อเนื่องของการไหลของน ้า กล่าวคือ ในช่วง
เวลาช่วงหนึ่งปริมาณน ้าที่เข้าสู่แหล่งน ้า (Input) จะเท่ากับปริมาณน ้าที่ออกจากแหล่งน ้า (Output)
รวมกับปริมาณน ้าที่สะสมในแหล่งน ้า เมื่อก าหนดช่วงเวลาที่ใช้บันทึกข้อมูลเพื่อน ามาใช้ในการ
ค านวณที่เกี่ยวข้องกับงบดุลน ้าอย่างน้อย 1 เดือน วิธีการนี้ต้องท าการวัดปริมาณน ้าที่ไหลเข้าสู่อ่าง
เก็บน ้าและปริมาณน ้าที่ไหลออกจากอ่างเก็บน ้าหรือแหล่งน ้าดังกล่าว นอกจากนี้ต้องท าการวัด
ปริมาณน ้าฝนที่ตกลงมาสู่อ่างเก็บน ้าโดยตรงและคาดคะเนปริมาณน ้าที่รั่วซึมผ่านคันกั้นน ้า
ตลอดจนปริมาณน ้าที่ไหลซึมซาบลงสู่น ้าใต้ดิน ดังความสัมพันธ์ต่อไปนี้
Input – Output = S
. . . (4.1)
หรือ P + R - R – P – E = S
r
erc
v
2
1
เมื่อ P = ปริมาณน ้าฝนที่ตกลงสู่แหล่งน ้า มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรต่อวัน
r
R = ปริมาณน ้าท่าที่ไหลเข้าสู่แหล่งน ้า มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรต่อวัน
1
R = ปริมาณน ้าท่าที่ไหลออกจากแหล่งน ้า มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรต่อวัน
2