Page 134 -
P. 134

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                 116   ความชื้นและเสถียรภาพของอากาศ








               ดังกล่าว จะสามารถอ่านอุณหภูมิจุดน ้าค้างได้ –4  องศาเซลเซียส สัดส่วนผสมร้อยละ 3.8  อากาศ
               อิ่มตัวที่ระดับความสูง 2.5 กิโลเมตร ความดัน 740 มิลลิบาร์


                       เมื่ออากาศลอยขึ้นไปอีก 1  กิโลเมตร ระดับความสูงจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.5  กิโลเมตร ซึ่ง

               ในช่วง 2.5  กิโลเมตรแรก มวลอากาศชื้นลอยขึ้นด้วยอัตราการลดอุณหภูมิแบบอะเดียแบติกแห้ง

               จนถึงระดับที่อากาศมีความชื้นอิ่มตัวจึงลอยขึ้นด้วยอัตราการลดอุณหภูมิแบบอะเดียแบติกชื้น
               (เส้นประ)  ณ จุดนี้อ่านค่าอุณหภูมิจุดน ้าค้างได้ –10.8  องศาเซลเซียส ความดัน 700  มิลลิบาร์
               สัดส่วนผสมของไอน ้าในอากาศมีค่าร้อยละ 2.55 ดังแสดงในภาพที่ 5.2


                       จากไดอะแกรมเทอร์โมไดนามิกส์ของอากาศชื้นแสดงให้เห็นว่า เมื่ออากาศที่มีความดัน

               1,000 มิลลิบาร์ ลอยขึ้นไปยังระดับความสูง 3.5 กิโลเมตรจากระดับน ้าทะเลปานกลาง อากาศจะมี

               ระดับไอน ้าอิ่มตัวแล้วควบแน่นจากสัดส่วนผสมของไอน ้าในอากาศร้อยละ 3.8 เหลือสัดส่วนผสม
               เพียงร้อยละ 2.5อีกร้อยละ 1.25 ควบแน่นเป็นละอองน ้า ซึ่งมีความหมายว่าอากาศชื้น 1 กิโลกรัม

               เมื่อลอยขึ้นไป ไอน ้าในอากาศชื้นนั้นจะควบแน่นเป็นละอองน ้า 1.25  กรัม ละอองน ้าจ านวนนี้จะ
               รวมตัวกันเป็นเมฆและตกลงมาเป็นฝนในที่สุด
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139