Page 138 -
P. 138
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
120 ความชื้นและเสถียรภาพของอากาศ
สมบัติเฉพาะ เนื่องจากอากาศบริเวณดังกล่าวจะได้รับพลังงานแตกต่างกัน ซึ่งจะพบเสมอว่า
บริเวณที่มีอากาศไม่มีเสถียรภาพอย่างมาก จะเกิดเมฆและฝนตกรุนแรง ส่วนบริเวณที่อากาศมี
เสถียรภาพ อากาศจะสงบกว่า หนาแน่นกว่า ไม่มีเมฆและฝน ปรากฏการณ์เหล่านี้เกี่ยวข้อง
โดยตรงกับความชื้นของอากาศ
เกรเดียนท์ของอุณหภูมิของอากาศหรืออัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศที่อยู่
รอบกลุ่มอากาศ (environmental lapse rate, L ) สามารถตรวจวัดได้จากเครื่องมือ เรียกว่า วิทยุ
e
หยั่งอากาศ (Radiosonde) ซึ่งท าการวัดได้โดยส่งบอลลูนติดเครื่องมือวัดอุณหภูมิ ความดันอากาศ
และอุณหภูมิจุดน ้าค้าง เครื่องมือนี้จะส่งสัญญาณวิทยุลงมายังเครื่องรับสัญญาณที่อยู่บนพื้นดิน
(ภาพที่ 5.4) เมื่อได้ข้อมูลแล้วน ามาลงจุดในกราฟเทอร์โมไดนามิกส์ของอากาศ (ภาพที่ 5.5) จะ
ทราบอัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศที่ท าการตรวจวัด ซึ่งในทางอุตุนิยมวิทยา ก าหนด
ว่าการตรวจวัดอากาศโดยการใช้วิทยุหยั่งอากาศสามารถเป็นตัวแทนของอากาศชั้นบนในรัศมี 250
กิโลเมตร ในช่วงเวลา 1 วัน แต่การเปลี่ยนแปลงพลังงานท าให้เกิดการไหลเวียนของมวลอากาศอยู่
ตลอดเวลา กลุ่มอากาศ (air parcel) จะถูกยกให้ลอยขึ้น ด้วยกระบวนการต่างๆ ดังนี้
1) กระบวนการพาความร้อน (convection process) เช่น ความร้อนจากผิวดินถ่ายโอนให้
อากาศเหนือผิวดิน อากาศร้อนจึงเคลื่อนที่ขึ้นสู่ระดับสูง
2) กระบวนการลมพัดและผลักดันให้กลุ่มอากาศลอยขึ้นตามลาดเขาหรืออิทธิพลของ
ภูมิประเทศ (orographic process)
3) กระบวนการรวมตัวของอากาศ (convergence of air) ที่ไหลเข้ามาผลักดันให้กลุ่ม
อากาศที่ความหนาแน่นน้อยกว่าลอยสูงขึ้น
4) กระบวนการยกตัวด้วยแนวปะทะอากาศที่เคลื่อนที่มาใกล้กัน (Lifting along weather
fronts process)
อากาศที่ถูกยกตัวขึ้นจะลอยถึงระดับหนึ่ง อุณหภูมิจะลดลงถึงจุดน ้าค้างและควบแน่นไอ
น ้าออกมาเป็นหยดน ้าเล็กๆ รวมเป็นกลุ่มก้อน เกิดเป็นเมฆ ตามภาพที่ 5.6