Page 81 -
P. 81
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
72 บทที่ 3
lamp) โดยปรอททําหนาที่รับแสง และกลายเปนปรอทที่ถูกกระตุน (excited mercury, Hg*) ตาม
สมการ (3.14) ตอจากนั้นปรอทที่ถูกกระตุนจะถายเทพลังงานโดยชนกับแกสไฮโดรเจน และสลาย
พันธะของโมเลกุลไฮโดรเจนออกเปนอะตอมไฮโดรเจนไดสองแบบตามสมการ (3.15) และ
(3.16)และในการตรวจสอบดวยสเปกโทรโฟโตมิเตอรพบปริมาณของ HgH ประมาณ 67 % ของ
ปรอททั้งหมด ดังนั้นขั้นเริ่มตนของปฏิกิริยาลูกโซนี้จึงมีสองแบบ คือ แบบที่หนึ่งประกอบดวย
สมการ (3.14) และ (3.15) แบบที่สองประกอบดวย สมการ (3.14) และ (3.16) ในอัตราสวนของแต
ละแบบเปน 1:2 ตอจากนั้นในขั้นแพรขยาย อะตอมไฮโดรเจนจะทําปฏิกิริยากับแกสคารบอนมอน
น็อกไซดเกิดเปนอนุมูลฟอรมิล (formyl radical, HCO.) ดังสมการ (3.17) และตามดวยอนุมูลฟอร
มิลทําปฏิกิริยากับแกสไฮโดรเจนเกิดเปนฟอรมาลดีไฮดและอะตอมไฮโดรเจนดังสมการ (3.18)
และจะเกิดปฏิกิริยาในขั้นแพรขยายอยางตอเนื่องตามที่กลาวขางตน สวนในขั้นสิ้นสุดอนุมูลฟอรมิ
ลสองอนุมูลทําปฏิกิริยากันแบบดิสพรอพพอรชันเนชัน (disproportionation) ซึ่งไมใชปฏิกิริยาการ
รวมตัว (combination) และกลายเปนฟอรมาลดีไฮดและคารบอนมอนน็อกไซด ตามสมการ (3.19)
โดยมีกลไกของปฏิกิริยาลูกโซดังแสดงตอไปนี้
ขั้นเริ่มตน Hg + hν ⎯ →⎯ Hg* (3.14)
Hg* + H ⎯ →⎯ Hg + 2 H. (3.15)
2
Hg* + H ⎯ →⎯ HgH + H. (3.16)
2
ขั้นแพรขยาย H. + CO ⎯ →⎯ HCO. (3.17)
HCO. + H ⎯ →⎯ HCHO + H. (3.18)
2
ขั้นสิ้นสุด 2 HCO. ⎯ →⎯ HCHO + CO (3.19)
ดังนั้นจะไดปฏิกิริยาการสังเคราะหฟอรมาลดีไฮดจากแกสคารบอนมอนน็อกไซดและแกส
ไฮโดรเจน ดังสมการตอไปนี้
CO + H ⎯ →⎯ HCHO (3.20)
2
นอกจากปฏิกิริยาโฟโตเซนซิไทเซชันที่ใชปรอทเปนตัวรับแสง (mercury-photosensitized
reaction) แลวยังมีสารอื่นในกลุมของโมเลกุลที่มีคารบอนิล (carbonyl chromophore) อันไดแก เบน
โซฟโนน (benzophenone) เปนตัวดูดกลืนแสงและถายเทพลังงานใหกับโมเลกุลของสารตั้งตนใน
ปฏิกิริยาตอไป