Page 168 -
P. 168
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
150
ข้อเสนอแนะ
1. การแกง หรือ ประกอบอาหารทั่วไปอย่าต้มให้เนื้อสัตว์สุกมาก เนื้อจะแข็งกระด้าง
2. เมื่อใส่ใบกระเพราแล้วต้องกดให้จมนํ้าร้อน มิฉะนั้นใบกระเพราส่วนที่ไม่สุกจะมีสีดําคลํ้า
3. รสของแกงป่าควรมีรสเค็มนําตามด้วยรสเผ็ดร้อนจากพริกขี้หนูและพริกไทย
4. การเพิ่มกระชายในแกงป่า เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี
2.2 แกงส้ม นํ้าพริกแกงส้มเป็นนําพริกแกงที่มีส่วนผสมสําคัญสองอย่าง คือ พริกแห้งกับ
หัวหอมแดง โขลกรวมกันกับกะปิเป็นนํ้าพริกแกงส้ม บางตํารับใส่กระเทียมเล็กน้อย บางตํารับ
ใส่ขมิ้น 2-3 แว่น จะช่วยให้สีสวยและสอดคล้องกับแกงส้มของภาคใต้ ซึ่งก็สามารถปรับได้ตาม
ความชอบ เนื้อสัตว์ที่ใช้แกงส้ม นิยมใช้เนื้อปลาสุก หรือ เนื้อกุ้งสุก บางตํารับใส่กุ้งแห้ง โขลก
รวมกับนํ้าพริก เมื่อต้มแล้วจะช่วยให้นํ้าแกงข้น ปรุงรสด้วยนํ้ามะขามเปียก ภาคกลางมักจะ
เติมนํ้าตาลปี๊บเล็กน้อย ผักที่ใช้แกงส้ม สามารถเลือกใช้ผักได้หลากหลาย
แกงส้ม
เครื่องปรุงน ้าพริกแกงส้ม สัดส่วนตวง/ชั่ง
พริกแห้งเม็ดใหญ่ตัดแกะเมล็ดออกแช่นํ้าให้นุ่ม ¼ ถ้วย
พริกขี้หนูแห้งตัดแกะเมล็ดออกแช่นํ้าให้นุ่ม 2 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอย 1 ถ้วย
เกลือป่น 1 ช้อนชา
กะปิ 2 ช้อนชา
เนื้อปลาต้มสุกแกะเฉพาะเนื้อปลา 1 ถ้วย
วิธีท า
1. โขลกพริกแห้งแช่นํ้าและเกลือให้ละเอียด จึงใส่หอมแดง โขลกต่อจนละเอียดดี
2. ใส่กะปิ และเนื้อปลาต้มสุก โขลกต่อให้ละเอียดเข้ากันดี
เครื่องปรุงแกงส้ม สัดส่วนตวง/ชั่ง
เนื้อปลา หรือ กุ้ง 1 ถ้วย
พริกแกงส้ม 1 ถ้วย
นํ้าซุป 4 ถ้วย
ผักกาดเขียวหั่นพอคํา 6 ถ้วย
นํ้าปลาอย่างดี ¼ ถ้วย