Page 238 -
P. 238
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
218
ข้อแนะน า
1. เครื่องเทศป่นไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 2 สัปดาห์ หรือ 15 วัน มิฉะนั้นกลิ่นหอมจะลดลงทําให้
คุณภาพเครื่องแกงไม่หอมเท่าที่ควร
2. เนื้อสัตว์ควรเคี่ยวให้เนื้อนุ่ม หรือ เปื่อยพอควรก่อนจะดี เพื่อให้เครื่องปรุงซึมผ่านเข้า
เนื้อสัตว์ และสามารถประกอบอาหารได้เร็วขึ้น
3. แกงมัสมั่นไม่ควรตั้งไฟเคี่ยวไว้ตลอดเวลา เพราะจะทําให้กะทิแตกมันเป็นขี้โล้ และ
กลิ่นหอมของเครื่องเทศจะระเหยไปหมด
การรวน หรือ เคี่ยวเนื้อสัตว์
การรวน หรือ เคี่ยวเนื้อสัตว์ เป็นวิถีไทยดั้งเดิม เนื่องจากการเก็บอาหารในตู้เย็น
มาเกิดขึ้นภายหลัง แต่ก็เหมาะสมดีกับการเตรียมความพร้อมให้สามารถประกอบอาหารได้เร็ว
การรวน เคี่ยว หรือ ตุ๋นเนื้อสัตว์ล่วงหน้าสามารถทําได้ เช่น เนื้อน่องลาย หรือ ขาหมู หรือ
สะโพกไก่ 1 กิโลกรัม หมักตามสัดส่วนข้างต้น พักค้าง 1 คืนในตู้เย็น หรือ 6 ชั่วโมง แล้ว
นํามาต้มไฟอ่อนจนเนื้อนุ่มกับนํ้า 1 ลิตร ตะไคร้ 2 ต้น ข่า 5 แว่น ใบมะกรูดฉีก 5 ใบหอมใหญ่
หั่น 1 หัว เกลือป่น 2 ช้อนชา นํ้าตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ช้อนฟองออกให้หมดระหว่างที่ต้มจะได้
นํ้าซุปใสน่ารับประทาน นํ้าซุปที่ได้สามารถนําไปประกอบอาหารอื่น ๆ ได้ด้วย
1.2 แกงเผ็ด หรือ แกงแดง เป็นแกงที่ใช้พริกแห้งสีแดงเป็นเครื่องปรุงหลักในการโขลก
นํ้าพริกแกง จึงให้สีแดงตามชื่อ ส่วนผสมของนํ้าพริกแกงแดงมีทั้งส่วนผสมของสมุนไพรสด (herb)
ได้แก่ กระเทียม หอมแดง (หอมแดงประมาณครึ่งหนึ่งของกระเทียม) ตะไคร้ ข่า (ข่าประมาณครึ่งหนึ่ง
ของตะไคร้) ผิวมะกรูด รากผักชีฝอย และส่วนผสมของเครื่องเทศแห้ง (spice) ได้แก่ พริกแห้ง พริกไทย
ลูกผักชี ยี่หร่า แต่งกลิ่นและรสด้วยเกลือ กะปิ นํ้าปลาและนํ้าตาลปี๊บ
แกงเผ็ด
เครื่องปรุงน ้าพริกแกงเผ็ด สัดส่วนตวง/ชั่ง
พริกแห้งเม็ดใหญ่ตัดแกะเมล็ดออกแช่นํ้าให้นุ่ม ¼ ถ้วย
ข่าแก่หั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ตะไคร้ซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมซอย 2 ช้อนชา