Page 240 -
P. 240
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
220
3. รสของแกงเผ็ดควรมีรสเค็มนําตามด้วยหวานเล็กน้อยจากกะทิและนํ้าตาลปี๊บ แต่ไม่หวานเท่า
แกงเขียนหวาน ทั้งนี้หากแกงมีรสขมอาจเป็นเพราะผัดพริกแกงไฟแรงเกินไปจนพริกแกงไหม้
4. การเพิ่มกระชายในแกงปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มกลิ่นหอม
5. เพิ่มเปราะหอมคั่วป่น 2 ช้อนชา ในส่วนผสมนํ้าพริกแกงสําหรับแกงไก่ จะช่วยเพิ่มกลิ่นหอม
6. เพิ่มลูกจันทน์คั่วป่น 2 ช้อนชา ในส่วนผสมนํ้าพริกแกงสําหรับแกงเนื้อโค-กระบือ จะช่วย
เพิ่มกลิ่นหอมและลดกลิ่นคาวเนื้อได้ดี
7. การใส่กะทิตอนสุดท้ายจะได้ความหวานจากนํ้ากะทิ และเป็นการลดอุณหภูมิของแกงไม่ให้
ความร้อนแฝงทําให้กะทิแตกมัน นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่ดี
1.3 แกงเขียวหวาน เป็นแกงที่ใช้พริกสดสีเขียวเป็นเครื่องปรุงหลักในการโขลกนํ้าพริก
จึงให้สีเขียวตามชื่อของแกง (บางตํารับพบว่าใส่ดีปลีเล็กน้อย) เทคนิคเพิ่มเติมสําหรับแกงเขียวหวาน คือ
1) เติมใบพริกสด หรือ ใบโหระพาโขลกในนํ้าพริกจะช่วยให้เพิ่มสีเขียวมากขึ้น 2) เติมนํ้าพริกแกงแดง
เพียงเล็กน้อยผัดผสมกับนํ้าพริกแกงเขียวหวานจะช่วยให้สีสวยอีกลักษณะหนึ่ง แกงเขียวหวานจากภูมิ
ปัญญาภาคใต้อาจจะเติมขมิ้นชันเล็กน้อยในการโขลกนํ้าพริกแกง จะให้กลิ่นหอมและมีสีเหลืองสวย และ
เพิ่มกะปิอีกเล็กน้อยจะทําให้แกงเขียวหวานมีรสและกลิ่นเข้มข้นขึ้น
แกงเขียวหวาน
เครื่องปรุงน ้าพริกแกงเขียวหวาน สัดส่วนตวง/ชั่ง
พริกชี้ฟ้าสีเขียวเม็ดใหญ่หั่นไม่ใช้เมล็ด ¼ ถ้วย
พริกขี้หนูสวนสีเขียวซอย 2 ช้อนชา
ข่าแก่หั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ตะไคร้ซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมซอย 2 ช้อนชา
หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
รากผักชีหั่น 2 ช้อนชา
ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ลูกผักชีคั่วป่น 1 ช้อนโต๊ะ
ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชา
พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
เกลือป่น 1 ช้อนชา
กะปิ 1 ช้อนชา