Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และมีความพึงพอใจในระดับมากในการสนับสนุนงบประมาณในการจัดประชุม อบรม ศึกษาดูงานร่วมกัน
ระหว่างกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร (3.59) ตามลําดับ
และด้านสถานที่/วัสดุอุปกรณ์มีความพึงพอใจในระดับมาก ต่อสถานที่ตั้งของตลาดยางพารามีความ
สะดวกในการเดินทาง (4.14) ความพร้อมของอุปกรณ์สํานักงานของตลาดยาง สกย. เท่ากันกับความพร้อม
ของวัสดุอุปกรณ์ในการให้บริการซื้อ-ขาย เช่น ที่รองยาง(พาเลซ) เครื่องชั่งนํ้าหนัก รถยก เป็นต้น และความ
สะดวกและเพียงพอของที่นั่งพัก นํ้าดื่ม ห้องนํ้า (4.05) ความเหมาะสมของตลาดยาง (สถานที่สะอาด
กว้างขวาง เพียงพอ) (3.86) และความพร้อมของสถานที่ (โกดัง)เก็บผลผลิตยางพารา (3.70) ตามลําดับ (ตาราง
ที่ 4-10)
เกษตรกรรายย่อยมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านตลาดยางพาราของ สกย. ในภาพรวมในระดับ
มาก ต่อผลผลิตยางพาราในตลาดยาง สกย. (4.08) ในการให้บริการของพนักงาน/เจ้าหน้าที่ สกย. (4.04)
สถานที่/วัสดุอุปกรณ์ (4.01) และการบริการของตลาดยางพารา (3.93) ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละประเด็น ดังนี้
ด้านผลผลิตยางพาราในตลาดยาง สกย. มีความพึงพอใจในระดับมาก ต่อการคัดคุณภาพยางพาราตรง
ตามมาตรฐานที่กําหนด (เกรด) และให้ราคาตามคุณภาพ (4.09) และผลผลิตยางพาราได้มาตรฐานเป็นที่
ยอมรับของทุกฝ่าย (4.06) ตามลําดับ
มีความพึงพอใจมากต่อการให้บริการของพนักงาน/เจ้าหน้าที่ สกย. ต่อการให้คําแนะนําในการซื้อขาย
ผลผลิตยางพารา (4.14) ความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ สกย. ในการตัดสินปัญหาอย่างยุติธรรม และเป็นที่
ยอมรับของทุกฝ่าย (4.03) และการให้คําปรึกษาในการคัดคุณภาพยาง (เกรด) กับกลุ่ม/สถาบัน (3.94)
ตามลําดับ
ด้านสถานที่/วัสดุอุปกรณ์มีความพึงพอใจในระดับมาก ต่อสถานที่ตั้งของตลาดยางพารามีความ
สะดวกในการเดินทาง (4.14) ความพร้อมของอุปกรณ์สํานักงานของตลาดยาง สกย. (4.06) ความพร้อมของ
วัสดุอุปกรณ์ในการให้บริการซื้อ-ขาย เช่น ที่รองยาง(พาเลซ) เครื่องชั่งนํ้าหนัก รถยก เป็นต้น (4.03) ความ
เหมาะสมของตลาดยาง (สถานที่สะอาดกว้างขวาง เพียงพอ) (4.00) ความสะดวกและเพียงพอของที่นั่งพัก นํ้า
ดื่ม ห้องนํ้า (3.92) และความพร้อมของสถานที่ (โกดัง) เก็บผลผลิตยางพารา (3.88) ตามลําดับ
และการบริการของตลาดยางพารา มีความพึงพอใจในระดับมากต่อระบบการบริหารจัดการของตลาด
ยางพารา (4.17) การให้บริการและการอํานวยความสะดวกในการซื้อขาย (4.14) การให้บริการ ข้อมูลด้าน
การตลาด เช่น การบริการส่งข้อความราคายางพาราผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฯลฯ (มีถูกต้อง รวดเร็ว) (3.89) และ
การสนับสนุนงบประมาณในการจัดประชุม อบรม ศึกษาดูงานร่วมกันระหว่างกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร (3.50)
ตามลําดับ (ตารางที่ 4-10)
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 45