Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพที่ 4-6 คุณภาพในการให้บริการของ สกย.
4.3 สถาบันเกษตรกร เกษตรกรรายย่อย และพ่อค้า
จากการศึกษาความพึงพอใจ/ความคิดเห็นของตัวแทนจากสถาบันเกษตรกร เกษตรกรรายย่อย และ
พ่อค้า ต่อการดําเนินงานของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) โดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
สถาบันเกษตรกรจํานวน 24 ราย เกษตรกรรายย่อย จํานวน 40 ราย และพ่อค้าจํานวน 11 ราย ผลการศึกษา
ดังนี้
4.3.1 ความพึงพอใจของกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรและเกษตรกรรายย่อยต่อการให้บริการของ สกย.
ตัวแทนกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ สกย. ในภาพรวมในระดับมาก
(4.14) โดยตัวแทนกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ สกย. ใน ระดับมากที่สุด ใน
การให้ความรู้ในการผลิตยางพาราคุณภาพและส่งเสริมกิจกรรมการผลิต (4.33) การให้คําแนะนํา ร่วมพัฒนา
กลุ่ม/สถาบัน กฎ ระเบียบ สิทธิประโยชน์ กิจกรรมกลุ่ม การบริหารจัดการ เท่ากันกับกลุ่ม/สถาบันมีระบบ
การปันผลคืนให้กับสมาชิกในการซื้อ-ขายผลผลิตยางพารา (4.26) และใน ระดับมาก ในการให้ความรู้ในการ
ซื้อขายปัจจัยการผลิต ผลผลิตนํ้ายาง/ผลิตภัณฑ์ยาง (4.17) การสนับสนุนปัจจัยการผลิต วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆ
เช่น โรงอบ/รม เครื่องรีด ฯลฯ (4.13) ความสะดวกสบายของสถานที่รวบรวมผลผลิตยางพาราของกลุ่ม/
สถาบันเกษตรกร (4.10) การส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร (4.00) ส่งเสริม
กิจกรรมสร้างรายได้ การผลิตและแปรรูป (ขายปัจจัยการผลิต ตลาด กิจกรรมเสริม เช่น ดอกไม้ใบยาง นํ้าพริก
ฯลฯ) (3.83) ตามลําดับ
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 42