Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 4
ผลการศึกษา
การประเมินผลการดําเนินงานสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) ปี 2553 ศึกษา
ความพึงพอใจ/ความคิดเห็นต่อการให้บริการของ สกย. และรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม
คือ 1) เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์ 2) เกษตรกรหลังรับการสงเคราะห์ 3) สถาบันเกษตรกร เกษตรกร
รายย่อย และพ่อค้า และ 4) นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ผลการศึกษามีรายละเอียดดังนี้
4.1 เกษตรกรที่อยู่ระหว่างสงเคราะห์
จากการศึกษาความพึงพอใจ/ความคิดเห็นของเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์การทําสวน
ยางพาราต่อการดําเนินงานของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) โดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
จํานวน 425 ราย ผลการศึกษา ดังนี้
4.1.1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่อยู่ระหว่างสงเคราะห์ จํานวน 425 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
ร้อยละ 63.29 อายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 28.47 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 46.82 และ
อื่นๆ ระบุ คือ จบประถมศึกษาปีที่ 7 ไม่ได้เรียนหนังสือ มัธยมศึกษาปีที่ 3 และปริญญาโท ค่าเฉลี่ยการถือ
ครองที่ดินของเกษตรกร พื้นที่ทั้งหมด 41 ไร่ พื้นที่ทําการเกษตร 39 ไร่ พื้นที่ทําสวนยางพารา 30ไร่ และส่วน
ใหญ่เกษตรกรมีพื้นที่น้อยกว่า 21 ไร่ ในการทําสวนยางพารา คิดเป็นร้อยละ 63.29 (ตารางที่ 4-1)
ตารางที่ 4-1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์
n = 425
ประเด็น จํานวน ร้อยละ
1. เพศ
ชาย 269 63.29
หญิง 156 36.71
2. อายุ
น้อยกว่า 31 ปี 19 4.47
31 – 40 ปี 62 14.59
41 – 50 ปี 101 23.76
51 – 60 ปี 121 28.47
61 – 70 ปี 74 17.41
มากกว่า 70 ปี 41 9.65
ไม่ระบุ 7 1.65
อายุเฉลี่ย 53 ปี ตํ่าสุด 23 ปี สูงสุด 90 ปี
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 30