Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                          บทที่ 3



                                                   วิธีการประเมินผล



                        การประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง มีขอบเขต       พื้นที่

                 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง แผนการดําเนินงานโครงการฯ วิธีการรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และวิเคราะห์

                 ข้อมูลในการประเมินผล ดังนี้

                 3.1 ขอบเขตการศึกษา


                        3.1.1) ขอบเขตพื้นที่

                  พื้นที่ประเมินผลเดิมประเมินในพื้นที่ศึกษา 8 จังหวัด เป็นพื้นที่ภาคใต้ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร

                 ระนอง ภูเก็ต สตูล ปัตตานี ยะลา  นราธิวาส และพื้นที่ภาคตะวันออก 1 จังหวัด คือ จังหวัดจันทบุรี

                        โดยหลังจากการประชุมคณะผู้บริหารและกรรมการ สกย. วันที่ 12 พฤษภาคม 2553 และมติจากการ

                 ประชุมร่วมระหว่างผู้บริหารคณะกรรมการสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) สํานักงาน

                 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จํากัด และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2553 ให้ยกเว้นการศึกษารวบรวมข้อมูลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา

                 นราธิวาส) โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทําหนังสือราชการที่ ศธ 0513.21101/4155 ลงวันที่ 14 มิถุนายน

                 2553 เรื่อง ขอปรับเปลี่ยนพื้นที่ดําเนินงานโครงการ “การประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานกองทุน

                 สงเคราะห์การทําสวนยาง ปี 2553” ถึง ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง

                        ดังนั้นในการดําเนินการประเมินผล โครงการฯ ดําเนินการรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่

                 ภาคใต้ จังหวัดชุมพร ระนอง ภูเก็ต สตูล และพื้นที่ภาคตะวันออก คือ จังหวัดจันทบุรี

                        3.1.2) ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง


                        1) เกษตรกร จากข้อมูลกลุ่มประชากรเกษตรกรที่ได้รับการสงเคราะห์ สวนดําเนินการจํานวน 6 ปี
                 คือ 2547-2552 จํานวน 11,735 ราย และสวนพ้นสงเคราะห์ จํานวน 5 ปี คือ 2542-2546 จํานวน 8,105 ราย


                               1.1) เกษตรกรอยู่ระหว่างการสงเคราะห์ มีประชากรเกษตรกรที่ได้รับการสงเคราะห์ทําสวน

                 ยางสวนดําเนินการในปี 2547-2552 จํานวน 11,735 ราย   จํานวนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 387 ราย มีการกระจาย
                 การสุ่มตัวอย่างเป็นรายจังหวัดและรายปี มีการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ จํานวน 425 ราย


                               1.2  เกษตรกรหลังรับการสงเคราะห์ มีประชากรเกษตรกรที่ได้รับการสงเคราะห์ทําสวนยาง

                 สวนพ้นสงเคราะห์ในปี 2542-2546 จํานวน 8,105 ราย จํานวนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 382 ราย มีการกระจายการ
                 สุ่มตัวอย่างเป็นรายจังหวัดและรายปี มีการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ จํานวน 403 ราย








                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 26
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37