Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                 2.5 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


                        สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (2550) แนวทางการพัฒนาตลาดยางพาราของสํานักงาน

                 กองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง สรุปได้ว่า ความต้องการที่จะให้ สกย.เข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้าน

                 การตลาดยางพารา จากการสัมภาษณ์เกษตรกรเจ้าของสวนยางพาราในภาคใต้  เกษตรกรมีความต้องการให้
                 สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) ช่วยเหลือในด้านการตลาดยางพาราด้านต่างๆ ดังนี้


                  1      ) กรณีที่เกษตรกรรวมกลุ่มนํายางมาขาย  มีความต้องการ ให้ สกย. ช่วยเป็นผู้นํา กําหนดกลไก
                 การตลาด หาตลาด หาแหล่งเงินทุน คัดเลือกพ่อค้าที่จะมาประมูลยาง รวบรวมยางให้เป็นกลุ่มใหญ่ โดยไม่

                 ผ่านพ่อค้าคนกลาง ช่วยสนับสนุนและดูแลในด้านการทําบัญชี การตรวจสอบบัญชี พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่มา

                 ดูแลที่สหกรณ์

                  2      ) กรณีที่เกษตรกรรายย่อยนํายางมาขาย  มีความต้องการให้ สกย. ช่วยสนับสนุนความรู้ ความเข้าใจ

                 คําแนะนํา เกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มขายยาง ดูแลในเรื่องของราคายางให้คงที่ ไม่ผันผวนเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลง ๆ

                 แจ้งอัตราการขึ้นลงของเงินตรา ประกาศราคายางล่วงหน้าผ่านสื่อวิทยุท้องถิ่น
                        จะเห็นได้ว่าเกษตรกรเจ้าของสวนยางส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นกลุ่มในการนําผลผลิตมาขายที่ตลาด

                 ประมูลเพื่อสร้างอํานาจในการต่อรองในการซื้อ- ขาย โดยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรมี

                 ความพึงพอใจอย่างมากต่อการประกอบอาชีพปลูกสวนยาง เพราะมีความมั่นคงในอาชีพ อีกทั้งไม่ต้องอพยพ
                 ไปทํางานต่างถิ่นฐาน ทําให้ครอบครัวอบอุ่น ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



                  สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (255         2) รายงานความสําเร็จการพัฒนาระบบตลาด
                 ยางพาราระดับท้องถิ่นของ สกย.  จากสถานการณ์เศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตยาง

                 นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จนถึงปี 2552 กลไกด้านการตลาดที่ สกย. ได้ดําเนินการในลักษณะรูปแบบ

                 การจัดตลาดยาง สกย. ที่หลากหลายและสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับผลผลิตยางในพื้นที่ อีกทั้ง
                 จํานวนและที่ตั้งของตลาดยาง สกย. ยังกระจายทั่วถึงในแหล่งปลูกยางของประเทศเป็นการลดต้นทุนในการ

                 ขายผลผลิต อย่างไรก็ตามระดับความสําเร็จของตลาดยาง สกย.ยังอยู่ในระดับความแตกต่างกันไปตาม

                 สภาวการณ์และความเป็นไปของสภาพแวดล้อมรวมถึงปัจจัยภายนอกที่มิอาจควบคุมหรือแก้ไขได้  สกย.ยัง
                 ดําเนินการส่งข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของราคายางประจําวันให้กับเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อ

                 ใช้เป็นข้อมูลพิจารณาตัดสินใจด้านการตลาด


                        สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2552)  การประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกรชาวสวนยางที่มี

                 ต่อกระบวนการให้การสงเคราะห์ปลูกแทน  ปี  2552  พบว่า  เกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุก

                 กระบวนการ/กิจกรรม มีคะแนนวัดผลเท่ากับ 4.56 โดยเกษตรกรมีความพึงพอใจในวิธีการจ่ายเงินสงเคราะห์

                 ปลูกแทนสูงสุด ที่คะแนนวัดผลเท่ากับ 4.66 ทั้งนี้ เพราะการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร เป็นงวด ๆ สะดวก ทํา
                 ให้เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาไปรับเงินที่   สกย.และไม่มีปัญหาการจ่ายเงินผิดและตรงต่อเวลาด้วย   รองลงมา

                 เป็นความพึงพอใจในการสํารวจสภาพต้นยาง   สภาพพื้นที่  และการสํารวจรังวัดพื้นที่ที่คะแนนวัดผลเท่ากับ


                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 23
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34