Page 80 -
P. 80
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
59
4.2 ความรู้/เทคโนโลยีระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม
จากการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่าการได้รับความรู้/เทคโนโลยีในการปลูก
พริก และการนําความรู้/เทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการผลิตพริก รวมถึงการต้องการความรู้ของเกษตรกร
ดังนี้
4.2.1 ความรู้ เทคโนโลยี และการนําไปใช้ประโยชน์
การผลิตพริกระบบปลอดภัยอาจกล่าวได้ว่าเป็นองค์ความรู้ใหม่สําหรับเกษตรกรผู้ปลูกพริกใน
จังหวัดนครปฐม การทราบถึงความต้องการและการได้รับความรู้จากแหล่งต่างๆ และการใช้ประโยชน์จาก
ความรู้ที่ได้รับของเกษตรกร จะเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางนโยบาย
และแผนในการกระจายความรู้ ให้สามารถวางแผนในการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรง
ตามความต้องการของเกษตรกรกลุ่มเป้ าหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตพริกระบบปลอดภัยในวงกว้าง
แหล่งความรู้ที่ศึกษา ได้แก่ นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้นําชุมชน (อบต. กํานัน
ผู้ใหญ่บ้าน) เพื่อนเกษตรกร ญาติพี่น้อง กลุ่ม/กิจกรรมรวมกลุ่ม นักวิชาการ/อาจารย์จากสถาบันการศึกษา
นักวิชาการ/สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเอกชน (ตัวแทนขายปุ๋ ย สารเคมี) ร้านเคมีการเกษตร เอกสาร
เผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ วารสารทางการเกษตร วิทยุและโทรทัศน์
เกษตรกรกลุ่ม GAP ส่วนใหญ่ (มากกว่า ร้อยละ 75) ต้องการความรู้จากแหล่งต่างๆ ลําดับจากมากไป
หาน้อย ได้แก่ (1) เพื่อนเกษตรกร (2) โทรทัศน์ (3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร/นักวิชาการเกษตร และ
นักวิชาการ/อาจารย์จากสถาบันการศึกษา (4) ญาติพี่น้องและร้านเคมีการเกษตร (5) เอกสารเผยแพร่และ
สิ่งพิมพ์ต่างๆ และ (6) ผู้นําชุมชนและวารสารการเกษตร (ร้อยละ 96.6, 89.1, 87.5, 85.9 และ 75.0 ตามลําดับ)
เป็นที่น่าสังเกตว่า นักวิชาการ/พนักงานส่งเสริมฯ เอกชน กลุ่ม/เครือข่าย และวิทยุ เกษตรกรมีความต้องการ
ในสัดส่วนที่ตํ่ากว่า (ร้อยละ 68.8, 54.7 และ 51.6 ตามลําดับ) ทั้งนี้อาจเนื่องจากเกษตรกรไม่ค่อยไว้วางใจ
ความรู้/เทคโนโลยีจากนักวิชาการ/พนักงานส่งเสริมฯ เอกชน ซึ่งสะท้อนจากคําบอกเล่าที่ว่า “ต้องการขายปุ๋ ย
ขายยา ท่าเดียว” ส่วนความรู้จากกลุ่ม/เครือข่ายอยู่ในระดับตํ่า เนื่องจากยังไม่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูก
พริก ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังนั้นความรู้ที่ได้จึงผ่านกลุ่มอื่นๆ (กองทุนหมู่บ้าน/กลุ่ม
หน่อไม้ฝรั่ง) สําหรับวิทยุมีแนวโน้มว่าจะเป็นแหล่งความรู้ที่ล้าสมัยสําหรับเกษตรกร เนื่องจากถูกแทนที่ด้วย
โทรทัศน์ และเกษตรกรส่วนใหญ่แทบจะไม่มีเครื่องรับวิทยุแล้ว
เมื่อพิจารณาความสอดคล้องระหว่างความต้องการความรู้กับการได้รับความรู้จากแหล่งต่างๆ ส่วน
ใหญ่ (7 ใน 12 แหล่ง) มีความสอดคล้องกัน ส่วนอีก 5 แหล่งที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการมากแต่กลับ
ได้รับน้อย ได้แก่ (1) นักวิชาการ/อาจารย์จากสถาบันการศึกษา (2) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ (3)
วารสารทางการเกษตร (4) กลุ่ม/เครือข่าย และ (5) ผู้นําชุมชน จะเห็นได้ว่าการได้รับความรู้จากกลุ่มอยู่ใน
ระดับตํ่ามาก (ร้อยละ 12.5) (ตารางที่ 4-4)