Page 75 -
P. 75
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
54
2) กลุ่มผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป Non-GAP
จากการรวบรวมข้อมูลเวทีชุมชนพบว่า ปริมาณฝนตกมากที่สุดในเดือนกันยายน รองลงมาเดือน
ตุลาคม และเดือนสิงหาคม ตามลําดับ และในเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม จะมีฝนตกน้อยมากถึงไม่ตก
ปริมาณนํ้าฝนจะเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม ตามลําดับ และจะน้อยละอีกครั้งในเดือนกรกฏาคม และ
จะเพิ่มขึ้นอีกในเดือนสิงหาคม ปริมาณฝนจะใกล้เคียงกันในแต่ละปี
(2.1) ขั้นตอนในการปลูกพริกของเกษตรกร มีดังนี้
การตรียมดิน ในการเพาะปลูกพริกของเกษตรกร 1 ปีจะมีการปลูกพริก 1 ครั้ง เกษตรกรกลุ่มแรกจะ
เริ่มปลูกพริกใน เดือนมกราคม และเกษตรกรกลุ่มสุดท้ายปลูกพริกไม่เกินเดือนมีนาคม ซึ่งเกษตรกรที่ปลูก
พริกเดือนมกราคม จะจัดการเตรียมดินตั้งแต่เดือนธันวาคม และกลุ่มที่ปลูกกุมภาพันธ์ จะมีการเตรียมดินใน
เดือนมกราคม โดยจะมีการ ไถดะ ตากแดดไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงไถแปร(พื้นที่ไร่) หรือทํายกร่อง ติดตั้ง
สปริงเกลอร์ เกษตรกรจะทําการ เพาะกล้า ไว้ก่อนตั้งแต่เดือน ธันวาคม หรือก่อนจะใช้ต้นกล้าเป็นเวลา 1
เดือน เมื่อเตรียมแปลงเพาะปลูกพร้อม เกษตรกรจะทําการ ดํากล้า โดยจะใช้เวลาในการดําแปร ดําร่อง
ประมาณ 1 วัน การใส่ปุ๋ ย จะมีการใส่ปุ๋ ยครั้งแรกประมาณ 1 เดือนหลังปลูกโดยใส่ปุ๋ ยยูเรีย 46-0-0 และใส่ปุ๋ ย
ทุก 15 วัน/ครั้ง ใส่ปุ๋ ย 15-15-15 เพื่อเร่งการเจริญเติมโตของต้น การดูแลแปลงปลูก เกษตรกรจะมีการถอน
หญ้า ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อควบคุม และฆ่าวัชพืช โดยปกติเกษตรกรจะใช้ฉีดพ่นสารเคมีคุมหญ้าหลังปลูก
เสร็จ การให้นํ้า เกษตรกรจะให้นํ้าในแปลงพริกตั้งแต่เริ่มปลูกโดยใช้สปริงเกลอร์ ไร่ละ 4 ชั่วโมง 4 วันให้1
ครั้ง จนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือบางรายให้นํ้าวันละครั้ง การเก็บเกี่ยว ในช่วงเดือนพฤษภาคมเกษตรกรจะมีการ
เก็บเกี่ยวผลผลิตจนถึงเดือนกันยายน อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เดือนละ 4 ครั้ง รวมระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว
ประมาณ 5 เดือน โดยเกษตรกรส่งผลผลิตให้กับผู้รวบรวมผลผลิตในหมู่บ้าน การรื้อแปลง เกษตรกรจะทํา
การรื้อแปลงหรือตัดต้นพริกทิ้ง ประมาณเดือนกันยายน ซึ่งจะใช้เวลา 1วัน โดยใช้เครื่องตัดถ้าแปลงเป็นพื้นที่
ไร่ และใช้รถไถ ในกรณีแปลงมีลักษณะเป็นร่อง การปลูกพืชสลับ ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เกษตรกร
จะใช้พื้นที่ในการปลูกข้าวโพดหวาน (ประมาณ 2 เดือน) หรือบางแปลงทิ้งรกร้าง
การใช้แรงงานของเกษตรกร ช่วงเตรียมดินเดือน ธันวาคม-มกราคม ใช้การเอาแรง หรือจ้าง โดยจ้าง
แรงงาน 1 คน ปลูกพริกโดยใช้วิธีการดําพริกมากสุด ใช้แรงงาน 1 ไร่ ต่อ 6 คน ระยะเวลาประมาณ ½ วัน การ
กําจัดวัชพืช ถอนหญ้า ดายหญ้า และการให้นํ้าเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือน แรงงานในการเก็บ
เกี่ยว จ้างแรงงานเก็บ 6 คนต่อสัปดาห์/ครั้ง การใช้นํ้า เดือนมกราคม-กันยายน ให้นํ้า โดยใช้นํ้าบาดาลและใช้
นํ้าจากคลองชลประทาน เริ่มใช้นํ้าฝนแทนนํ้าบาดาลเมื่อมีฝนตก (ภาพที่ 4-6)